ประสบการณ์การทำงานในดูโฮม | My Work Experience at Do Home [PC VR Handle]

เรื่องราวต่อไปนี้เป็นประสบการณ์การทำงานเป็นครั้งแรกของผม ซึ่งอยู่ในช่วงเดือน ก.พ. ถึง พ.ค. พ.ศ. 2556
วันที่ 9 ก.พ. 56
บทนำ
ช่วงปิดเทอมปี 2 ผมคิดอยากหางานทำเพราะขี้เกียจเรียน ผมมีเวลา 3 เดือนในช่วงปิดเทอมนี้ โดยผมวางแผนไว้ตั้งแต่ตอนเรียนเทอมปลายแล้ว ผมทำการสำรวจร้านที่เขารับสมัครงาน ก่อนปิดเทอม 1 สัปดาห์ผมไปเจอร้านขายกระเบื้อง"ไดนาตี้"เขารับสมัครพนักงาน ผมจึงเล็ง ๆ ไว้ เพราะว่าร้านอยู่ห่างบ้านผมราว ๆ 3 กิโลเมตรเท่านั้น

แต่เมื่อผมปิดเทอม ร้านดังกล่าว "ย้าย" ผมจึงลองตามไปดู แต่เขายังไม่ติดรับสมัคร ผมจึงลองไปที่ Do Home ซึ่งรับสมัครพนักงานเป็นจำนวนมาก (ซึ่งสำรวจมาก่อนหน้านี้แล้ว)

การสมัครงาน

27/02/56 
เป็นวันสุดท้ายของการสอบ เมื่อสอบเสร็จก็ตั้งใจไปสมัครงานทันที

ผมเดินเข้าไปในร้าน Do Home และถามพนักงานว่า จะสมัครเป็นพนักงานต้องทำอย่างไร เขาบอกว่าให้ขับรถอ้อมไปด้านหลัง จะมี"ฝ่ายบุคคล"อยู่

ผมขับรถไปด้านข้างของห้าง ก็เห็นแผนกฝ่ายบุคคล ผมรู้สึกขาดเขลายิ่งนัก จึงเดินทางกลับบ้านเพื่อที่จะโทรถามฝ่ายบุคคล(เนื่องจากผมลืมเอาใบสมัครมา)

เมื่อกลับถึงบ้านก็ทำการโทรถามฝ่ายบุคคลดังเบอร์โทรที่ถ่ายรูปไว้ ผมถามรายละเอียดงาน แต่เขาบอกได้อย่างเดียวว่า "มาก่อน" ผมงง ว่า ทำไมเป็นอย่างนั้น จิตใจเริ่มท้อ จึงรอวันถัดไป(วันนี้เตรียมเอกสาร)

28/02/56 (วันสุดท้ายของเดือน)
เริ่มก้าวเดินใหม่ วันนี้ความขาดเขลาลดลงนิดหน่อย ผมเดินทางไปที่"ฝ่ายบุคคล"ซึ่งได้เห็นตั้งแต่เมื่อวานแล้ว ผมบอกพนักงานรับสมัครว่า มาสมัครงานครับ เขาถามผมว่าจะอยู่แผนกไหน? ผมงงสักพักก่อนจะถามกลับไปว่า แผนกไหนว่างครับ เขาบอกให้ไปดูรายชื่อแผนกที่ว่างซึ่งติดอยู่บนบอร์ด (ซึ่งไม่ได้อัพเดดมาหลายเดือนแล้ว)

เรื่องราวซับซ้อนกว่าที่คิด!
เราต้องสมัครผ่านบริษัทอื่น เป็นตำแหน่ง "PC; Product Consultant" (พนักงานแนะนำสินค้า) แล้วทางบริษัทจะส่งคำขอมา ให้เราเข้าไปทำงานในห้างได้

โชคดีเหลือเกิน ตอนที่ผมกำลังดูบริษัทที่ขาด PC อยู่นั้น มี Sell คนหนึ่งทักผมว่า หางานอยู่หรอ ผมเลยบอกว่า ใช่ เขาเลยเสนองานให้ ที่ บริษัท VR Handle ผมเลยตอบรับทันที

ผมจึงได้ใบสมัครมา 2 ชุด คือ ของ Do Home และ VR Handle จากนั้นก็เขียนใบสมัคร เมื่อยื่นใบสมัครแล้ว ทางดูโฮมก็ให้ไปตรวจสุขภาพ ต้องตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจสารเสพติด และต้องเอาสำเนาบัญชีไปด้วย (ให้ทางบริษัทโอนเงินเดือนเข้า)

ตอนแรกผมคิดว่าตัวเองโชคร้าย เพราะคนอื่น ๆ ที่มากับผมเขาส่งใบสมัครแล้วกลับบ้านทันที แต่ผมต้องยุ่งยากอยู่คนเดียว จริง ๆ แล้วคือคนอื่นต้องรอเรียกตัว เขาอาจเรียก หรือไม่เรียกเลย ซึ่งผมเพิ่งรู้ว่าผมโชคดีเหลือเกินที่เขารับทันที


สำหรับเงินเดือนก็ 9,000 บาท ตามมาตรฐาน(เหมาจ่าย; จะมาหรือไม่มาก็ได้ 9,000 ไม่มีหัก) และมีเบี้ยเลี้ยงวันละ 55 บาท (ถ้าไม่มาก็ไม่ได้) และค่าคอมมิสชัน 1%

สมมุติ 1 เดือนมี 30 วัน วันหยุด 4 วัน และขายได้ราว ๆ เดือนละ 150,000 บาท ซึ่งจะได้ค่าคอมมิสชัน 1,500 บาท ดังนั้นเงินเดือนจะได้ราว ๆ 9,000+55x26+1,500 =11,930 บาท

ผลิตภัณฑ์ของ VRH
ก๊อกน้ำรูปหมี
ขั้นตอนต่าง ๆ ทางบริษัท VRH (VR Handle) ได้อธิบายเรียบร้อยแล้ว ผมก็งงเป็นที่เรียบร้อย มีการลงเวลา มีการนั้นนี้ เพราะข้อมูลใหม่ ๆ ต่าง ๆ เข้ามาในหัวพร้อม ๆ กัน มันจึงทำให้ผมเรียนรู้ไม่ทัน แต่ผมรู้ว่าเรื่องเหล่านี้จะเกิดขึ้น ผมจึงพยายามจดไว้ให้ได้เยอะที่สุด แต่บางอันก็จดไม่ทัน ต้องจำมาจด ไม่ได้ยืนจดต่อหน้าผู้อธิบายงาน

สรุป พรุ้งนี้ (01/03/56) ไปตรวจร่างกายและไปเปิดบัญชี และมาเข้าปฐมนิเทศในวันต่อไป (02/03/56) พร้อมนำใบตรวจร่างกายมาด้วย

01/03/56
วันนี้ต้องเตรียมสิ่งที่เขาให้ส่ง ต้องไปโรงบาลเพื่อตรวจโรถต่าง ๆ และตอนบ่ายต้องไปเปิดบัญชี

02/03/56
มาเข้าปฐมนิเทศตอน 10:00 น. ระยะทางจากบ้านมาที่ดูโฮม 7.1 กิโลเมตร ใช้เวลาราว ๆ 10-15 นาที เมื่อมาถึงห้อง เขาเปิดวิดีโอเรื่องราวของดูโฮมให้ดู

ตอนแรกเป็นร้านค้าวัสดุตั้งอยู่ในจังหวัดอุบล ใช้ชื่อร้านว่า อุบลวัสดุ ต่อมาก็ทำการขยายกิจการไปเรื่อย ๆ และก็ได้ใช้ชื่อ DO HOME ซึ่งอยู่ในเคลืออุบลวัสดุ

นอกจากนี้ทางฝ่ายบุคคลก็ได้ให้ไปซื้อเสื้อ เอี้ยว  และแนะนำงานเบื้องต้น โดยรวมยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง

กลับมาตอนเย็นต้องไปซื้อกางเกงสแล็ก เพราะเขาไม่ให้ใส่กาเกงอย่างอื่นนอกจากสแล็ก


เริ่มงานวันแรก

บัตรพนักงาน
03/03/56
และแล้ววันนี้ก็มาถึง คือ วันทำงานวันแรก หลายท่านอาจลืมความรู้สึกเหล่านี้ไปแล้ว แต่ผมยังคงไม่ลืม

07:30 น. ผมมานั่งอยู่หน้าห้องแผนกบุคคลเพื่อรอทำบัตรพนักงาน สแกนลายนิ้วมือเพื่อบันทึกลายนิ้วมือไว้ใช้สแกนตอนเข้างาน เจ้าหน้าที่กล่าวว่า "อาทิตย์แรกทำงานตั้งแต่ 08:00 น. ถึง 19:00 น. คือควบกะ!" อะไรคือควบกะ???

08:00 น. ก็รอผู้จัดการแผนกมารับตัวไป รอกระทั้ง 08:40 น. ก็มีคนมาเรียก แต่เขาไม่ใช่ผู้จัดการแผนกเรา พอไปถึงก็ได้รู้ว่าแผนกเรายังไม่มีผู้จัดการ ผมก็ทำการสำรวจว่าผลิตภัณท์ VRH มีอะไรบ้าง อยู่ไหนบ้าง

มีคนมาซื้อที่วางจานสเตนเลส เขาตรวจดูโดยใช้ฝาของโทรศัพท์ซึ่งมีแม่เหล็กอยู่ คือ หากเป็นเหล็ก แม่เหล็กจะดูด หากไม่ดูด แสดงว่านั้นเป็นสแตนเลสแท้ ... ผมยืนมองแล้วก็คิด ๆ ว่า เออ VRH เป็นสแตนเลสแท้แฮะ ก็ได้ขายไป

12:45 น. คนในแผนกพากันไปกินข้าวหมด เหลือแค่ผมที่ยังอยู่ และแล้วก็มี "ของลง" มันคือลังผลิตภัณฑ์ของ VRH หลายกล่องมาส่ง ผมยืนงงว่าต้องทำอย่างไร และแล้วคนส่งของก็ให้ใบมาเซ็นต์รับ แล้วผมก็ยืนงงต่อว่าผมจะเก็บของมากมายเหล่านี้ไว้ไหนดี

13:00 น. คนอื่น ๆ ในแผนกกินข้าวเสร็จพอดี ผมเลยได้ไปพัก อาหารก็ไม่ค่อยจะมีหรอก เพราะคนอื่นเขากินไปหมดแล้ว ช่วงเวลาพักคือ 10:30 น. ถึง 14:30 น. เขาให้เปลี่ยนกันมากิน แต่แผนกผมไม่มีผู้จัดการแผนก พนักงานบางคนเลยตั้งตัวเองเป็นใหญ่ แผนกผมมีคนประมาณ 8 คน

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ VRH
ในขณะทำงาน ทาง บ. ห้ามให้พนักงานนั่ง เมื่อกินข้าวเสร็จ ผมต้องนั่งพักขา เพราะเคยสบายมาก่อน จู่ ๆ มายืนทั้งวัน เลยเหนื่อยมาก อีกทั้งหิวอีก ระหว่างนั่งพัก ก็จดอะไรก็ตามที่พลักงานคนอื่นบอก เช่น

  • ต้องมีรหัสอะไรสักอย่าง เอาไว้เช็คดูว่าตัวเองขายของได้มากแค่ไหน
  • บริษัทไหนไม่มี PC ทางดูโฮมจะหักวันละ 300 บาท ... เราเลยเข้าใจ ว่าทำไม Sale ท่านนั้นจึงรับผมทันที อาจเพราะจ้าง-ไม่จ้าง ก็ได้จ่ายเงินเหมือนเดิม
  • ตอนเช้ามีคนมาถามผมว่า "ตะแกรง" มีอีกไหม? แหม... ผมเพิ่งมาทำงานวันแรก ผมไม่รู้ว่าพนักงานคนอื่นเก็บไว้ที่ไหน ผมเลยไม่ได้ขาย คือว่าผลิตภัณฑ์ที่ผมขายนั้นเป็นพวกตะแกรงวางจาน ที่วางสบู่ อะไรประมาณนั้น ทีนี้ มันใหญ่และที่วางมันเล็ก จึงวางได้ที่ละตั้งแต่ 1 ถึง 5 อัน ช่องที่วางได้ 1 อัน เมื่อขายได้ ผมต้องปีนขึ้นไปชั้นบนสุด เพื่อเอาของลงมาขายใหม่ (ก่อนหน้านี้ VRH ไม่มี PC มาระยะหนึ่ง ซึ่งทำให้หลายผลิตภัณฑ์ไม่ได้เอาลงมาขาย เพราะพนักงานคนอื่นเขาไม่สนใจ)
  • อาทิตย์นี้ทางดูโฮมเขาจัดงานลดราคา ลูกค้ากล่าวกับผมว่า เขาซื้อตะแกรงไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว เขาเสียดายมาก ไม่รู้ว่าจะมีการลดราคา
ก๊อกน้ำกะรัต
ผมลืมไปว่านาฬิกาของผมมันช้ากว่าของดูโฮม 4 นาที ผมพักเต็มเวลาเลยทีเดียว เมื่อยขามาก ๆ หลังจากที่พักเสร็จก็ต้องไปเก็บของที่ถูกส่งมาขายเยอะแยะ

เมื่อออกจากที่รับประทานอาหาร ก็เข้าห้องน้ำ... ผมเปิดก๊อกน้ำไม่เป็น ผมหมุนไปทางซ้ายน้ำก็ไม่ไหล หมุนทางขวาก็ไม่ไหว โอ๊วพระเจ้า ที่แท้ต้องแตะขึ้น ผมเพิ่งเคยใช้ก๊อกแบบนี้ มันมีหน้าตาเหมือนภาพด้านขวามือ (ภาพก๊อกน้ำกะรัต)

มาถึงภาระกิจเก็บของขึ้นไปบนชั้นวางของ ผมลองยก ๆ ดู บางกล่องไม่หนักมากครับ เพราะเป็นตะแกรงวางของทั่วไป กล่องมีขนาดราว ๆ 90x90x90 เซนติเมตร จำนวน 11 กล่อง ผมก็ทำไปเรื่อย ๆ จนกระทั้งค่ำ ระหว่างทำต้องใช้รถบันได บางทีพนักงานคนอื่นก็จะใช้ เราก็ต้องให้


18:00 น. ตอนนี้ลูกค้าเริ่มไม่มีเวลา ผมเมื่อยขาอย่างไม่ต้องสงสัย ผมยืนมา 9 ชม. หรือเนี่ย ... มีคนบอกว่า "อย่าหาเรื่องใส่ตัว" ผมคิด ๆ ดูว่านี้รึปล่าวที่หมายถึงหาเรื่องใส่ตัว คงไม่ใช่มั้ง ถ้าเราไม่มา เราคงไม่รู้อะไร ๆ หลาย ๆ อย่าง ที่นี้ยังคงมีกฎมากมายให้ปฎิบัติ ผมยังคงต้องเรียนรู้และปรับตัวต่อไป

19:05 น. ผมยืนรอสแกนลายนิ้วมือเพื่อออกงาน เพราะต้องรอ 19:10 น. เขาจึงเปิดเครื่องให้สแกน พนักงานมีราว ๆ 200 คน (แต่เข้า-ออกคนละเวลา) มีเครื่องสแกน 2 ตัว ผมถือว่าเพียงพอ ผมอยู่คนสุดท้าย รอประมาณ 7 นาทีก็เสร็จหมด ก่อนออก มีเจ้าหน้าที่ตรวจเช็ค ว่าเราได้เอาของอะไรออกไปรึปล่าว... ภารกิจวันแรกเสร็จสิ้น

04/03/56
ตื่นเช้ามา ฝนตกครับ อากาศน่านอนมาก ๆ แล้วความคิดก็แวบเข้ามา... เอ๋ ไม่ไปทำงานดีไหม! แหม เพิ่งวันที่ 2 เอง ก็ขี้เกียจซ่ะแล้ว แต่สุดท้ายก็กลั้นใจมาทำงาน

ก่อนเข้าไปทำงาน มีเจ้าหน้าที่มาตรวจกระเป๋า เขาห้ามนำพวกโทรศัพท์เข้าไปเล่น เพราะมันคือเวลาทำงาน ผมก็ไม่มีปัญหาอะไร

ดูโฮมภาคอีสานมีแต่พนักงานที่พูดภาษาอีสาน ผมเองก็พูดไม่เก่ง แต่ก็ต้องพยายามปรับให้เข้า พูดผิด ๆ ถูก ๆ อยู่ ผมเองเป็นคนที่แปลก พ่อ-แม่ ยาย พูดอีสาน แต่ผมไม่พูดเลย ฟังอย่างเดียว เพื่อนผมที่เกิดในขอนแก่นและใช้ชีวิตในขอนแก่นก็ไม่ค่อยพูดอีสานกัน หรือเด็กสมัยนี้เขาไม่พูด ไม่รู้ยังไง

ทำงานช่วงแรกมันเหนื่อย มันปรับตัวยังไม่ได้ พนักงานในแผนกเดียวกันก็แอบหนีไปพักอย่างเดียว เพราะไม่มีผู้จัดการแผนก ยังไม่มีใครมาดูแล จับกลุ่มตั้งตัวเป็นใหญ่ในแผนก ผมเองก็ยังทำอะไรไม่ได้ ต้องพึ่ง ต้องให้เขาสอนงาน แต่เขาก็ไม่ค่อยสอนหรอก

ปัญหาคือ ทำงานไม่เป็น และไม่มีใครสอนงาน ตอนนี้ผมพยายามคิด ว่า จะทำยังไงให้ทำงานเป็น เลยต้องติดตามเขาไป ตอนที่เขาใช้ให้ไปทำนั้นทำนี้ เราก็จะได้รู้ว่าทำยังไง

05/03/56
วันนี้มาถึง ทุกคนในแผนกขยันมาก จนอุปกรณ์ทำความสะอาดไม่เพียงพอ ผ้าเช็ดสินค้า ไม้กวาด ฯลฯ ไม่มีว่างเลย ผมเลยยังไม่มีอะไรทำ ผมหาสินค้ามาเติมตามปกติ จนกระทั้งตอนเที่ยง ผมเจอนายใหญ่ ซึ่งมาจากสาขาแรก (อุบลวัสดุ) พนักงานที่นั้นต่างเรียกนายท่านนี้ว่า "ซ้อใหญ่" ได้ข่าวว่าไล่แม่ครัวออกไป 1 คน ในข้อหาทำอาหารไม่อร่อย และลดตำแหน่งผู้จัดการแผนกเป็นพนักงานทั่วไป 1 คน ในข้อหาไม่ดูแลสินค้า ปล่อยให้ของเละเทะ ... ราว ๆ บ่ายกว่า ๆ ซ้อใหญ่เดินมาถึงแผนกผมและเรียกรวม ผมไปก่อนเพื่อนเพราะตอนนั้นยังไม่รู้อะไร คนอื่น ๆ ค่อยๆ ทำท่าวิ่งตามมา (พยายามไปทีหลังจะได้อยู่หลัง ๆ) พอไปถึง ถูกด่าแหลกราน เพราะไม่เติมสินค้า (พวกยาแนวกระเบื้อง) สินค้าพวกนี้ยังไม่มีพนักงานมาดูแล เลยไม่มีใครมาสนใจ แถมแผนกผมยังไม่มีผู้จัดการ เลยยิ่งไม่มีใครสนใจ ทำหน้าที่เฉพาะของตัวเอง ตอนนี้ผมยังไม่รู้กฏเกณฑ์อะไรมากนัก ได้แต่ยืนถูกด่าไปเรื่อย ๆ ผมคิดในใจ โอ๊ว วันนี้ยังไม่ได้ทำความสะอาดสินค้าเลย จะไม่ถูกด่าอีกซ่ะติ ขณะที่ถูกด่าอยู่นั้นก็รู้สึกหนักใจว่าจะถูกด่าต่อเนื่องมาอีก แต่สุดท้ายก็ไม่ถูกด่า เพราะสินค้าที่ผมดูแลยังคงสะอาดอยู่

06/03/58
วันนี้มีคนบอกว่า เปลี่ยนป้ายราคาใหม่หน่อย ว่างั้น โอเคร ทำยังไง เขาก็บอกผมว่า จด Code 13 ตัวไปที่คอมพิวเตอร์ แล้วพิมพ์โคด แล้วสั่งพิมพ์ อีกสัก 30 นาทีค่อยไปรับที่ฝ่ายพิมพ์ป้าย โอเคร ผมจดละเอียดทุกขั้นตอน ผมลองทำดูสักอัน ผมถามเขาว่า ต้องเปลี่ยนบ่อยแค่ไหน เขาว่า ทุก ๆ 15 วัน .... สินค้าผมไม่เปลี่ยนป้ายมาราว ๆ 2 เดือนแล้ว เพราะไม่มีพนักงานมาดูแล สินค้าที่ผมดูแล มีราว ๆ 280 ผลิตภัณฑ์ โอ๊ว มาย ก๊อด! ในวันนั้น งานหลักของผมคือ จดโค้ดเพื่อไปเปลี่ยนป้าย ไม่ใช่แค่จดแล้วไปสั่งที่คอมน่ะ เพราะว่าคนอื่น ๆ ก็ใช้คอมเหมือนกัน เราเป็นพนักงานใหม่ เราต้องให้เขาใช้งานก่อน เราต้องเป็นคนสุดท้ายที่ได้ใช้


การจัดการงานก่อสร้าง | Construction Management

1.1 Project
"กระบวนการดำเนินงานชั่วคราว ซึ่งต้องใช้ความพยายาม เพื่อสร้างผลลัพธ์เฉพาะตัว"


1.2 Project Management
"การใช้ความรู้ ทักษะ เครื่องมือ และเทคนิค เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ" (PMBOK)
  1. ความรู้
  2. ทักษะ
  3. เครื่องมือ
  4. เทคนิค
1.2.1 ความรู้ มี 9 ด้าน
  1. ภาพรวม
  2. ขอบเขต
  3. เวลา
  4. ต้นทุนค่าใช้จ่าย
  5. คุณภาพ
  6. ทรัพยากรมนุษย์
  7. การติดต่อสื่อสาร
  8. การจัดซื้อจัดจ้าง
  9. ความเสี่ยง
1.2.2 ทักษะ


1.2.3 เครื่องมือ


1.2.4 เทคนิค
  • PERT; การประเมินและทบทวนโครงการ
  • Earned Value; การควบคุมค่าใช้จ่ายและเวลา
  • WBS; การแตกรายละเอยีดโครงสร้างงาน
  • CPM; วิถีวิกฤต
  • PDM; Precedence Diagram Method; แผนภูมิโครงข่ายลำดับขั้น
  • Resource Smoothing; ปรับระดับทรัพยากร


1.3 หน้าที่ผู้บริหาร [4]
  1. วางแผน
  2. จัดการองค์กร (จัดคนให้เข้ากับงาน)
  3. อำนวยการ (กระบวนการผลักดันคนให้ทำงานให้บรรลุ)
  4. การควบคุม (วัดผลงานที่ได้และปรับปรุง)














ข้อต่องานไม้ | Woodworking joints

เฟอร์นิเจอร์ไม้ เช่น ประตูหน้าต่าง เป็นส่วนหนึ่งของงานไม้ที่เกี่ยวข้องกับการนำชิ้นส่วนของไม้มาต่อรวมกัน เพื่อผลิตสิ่งที่ซับซ้อนมากขึ้น บางข้อต่อก็ใช้วิธียึด ผูก หรือใช้กาวขณะที่วิธีอื่น ๆ นั้นจะใช้วัสดุที่เป็นไม้เท่านั้น ลักษณะของไม้ที่จะเป็นข้อต่อได้ควรจะเหนี่ยวและแข็ง เทคนิคการการทำข้อต่อของไม้มีวิธีการที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ผลิต

สำหรับในบทความนี้จะมีตัวอย่างข้อต่อของงานไม้ดังต่อไปนี้

  1. ข้อต่อไม้แบบ Bridle joint
  2. การต่อชน (Butt joint)
  3. การต่อแบบ Miter joint
  4. การบากเดือยเหลี่ยม (Finger Joint)
  5. เดือยหางเหยี่ยว (Dovetail Joint)
  6. ข้อต่อบากปากชน (Dado Joint)
  7. ข้อต่อแบบบากร่อง (Groove Joint)
  8. ข้อต่อแบบร่องลิ้น (Tongue and groove)
  9. ข้อต่อเดือยเหลี่ยม


1. ข้อต่อไม้แบบ Bridle joint
ข้อต่องานไม้แบบ Bridle joint
ข้อต่อแบบ Bridle joint นี้จะมีลักษณะเหมือนกับแบบ mortise และแบบเดือย (tenon)

corner bridle joint (หรือ slot mortise และ tenon) เป็นการต่อไม้ทั้ง 2 ชิ้นโดยมีจุดต่อที่ปลายของไม้ ข้อต่อแบบนี้จะรับแรงกดได้ดี บางครั้งอาจเสริม Pin เจ้าไปด้สนเพื่อเพิ่มความมั่นคง

Corner bridles มักจะใช้กับไม้ที่มีลักษณะเป็นกรอบ ชิ้นส่วนไม้จะสามารถถอดออกจากกันได้ง่ายโดยไม้ต้องทำลายไม้(หากต้องการถอด)

T-bridle joint เป็นการต่อของไม้ที่เป็นรูปตัว T โดยที่ปลายไม้ชิ้นหนึ่งต่อเข้ากับบริเวณตรงกลางของไม้อีกชิ้นหนึ่ง
ข้อต่องานไม้แบบ T-bridle joint


2. การต่อชน (Butt joint)
ต่อชนเป็นเทคนิคการนำไม้ทั้งสองชิ้นมาต่อก่อน โดยใช้ก้นมาชนกัน เป็นวิธีที่ง่ายและมีต้นทุนน้อยที่สุดเนื่องจากไม่จำเป็นต้องตัดชิ้นงาน และมันยังเป็นข้อต่อที่อ่อนแอที่สุดหากรูปแบบการเสริมแรงไม่เพียงพอ เช่นหากใช้กาวเพียงอย่างเดียว

สำหรับการต่อชนจะมีเทคนิคย่อย ๆ ตามหัวข้อดังนี้
  1. Dowel reinforced butt joint (ใช้เดือย)
  2. Biscuit reinforced butt joint
  3. Screwed butt joint (ใช้สกรู)
  4. Butt joint with pocket hole screws (ใช้สกรู)
  5. ข้อต่อไม้แบบเดือยหางเหยี่ยว (Dovetail Joint)
  6. ข้อต่อแบบบากร่อง (Groove)


ข้อต่อแบบใช้เดือยกลม
2.1 Dowel reinforced butt joint (ใช้เดือย)
การใช้เดือยในการต่อไม้นั้นเป็นวิธีที่ง่ายและเป็นวิธีพื้นฐานในการต่อไม้เพื่อทำเฟอร์นิเจอร์ เช่น เก้าอี้ ตู้ 

เทคนิคนี้ทำได้โดยการตัดไม้ให้เท่ากันแล้วเจาะรู(ควรใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาด) รูเจาะต้องตรงกันอย่างสมบูรณ์ จากนั้นก็นำเดือยมาใส่ ผิวหน้าของไม้ทั้งสองที่สัมผัสกันนั้นจะถูกทาด้วยกาว

การใช้กาวเสริมความแข็งแรงจะดีกว่าการไม่ทากาวเลย แม้ว่ากาวจะเสื่อมสภาพไปแล้ว แต่เดือยไม้จะยังคงอยู่ เมื่อเวลาผ่านไปเดือยไม้จะเริ่มหดตัวเป็นเหตุให้ข้อต่อหลวมได้ ซึ่งเห็นได้ชัดในเก้าอี้เก่า ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดเสียง เอี๊ยด! ข้อต่อแบบนี้ไม่นิยมใช้กับเฟอร์นิเจอร์ที่มีราคาแพง


ข้อต่อแบบ Biscuit reinforced butt joint
2.2 Biscuit reinforced butt joint
เป็นการต่อไม้ที่เป็นนวัตกรรมล่าสุดในการต่อชน Biscuit มีลักษณะเป็นรูปทรงรี ทำมาจากไม้ที่แห้งเป็นพิเศษและถูกบีบอีดอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้เดือยไม่หดตัวและมีความคงทนสูง

วิธีการทำข้อต่อแบบนี้จะเหมือนแบบเดือยกลม เพียงแค่เปลี่ยนจากเดือยกลมเป็นเดือยวงรี

สำหรับการทำร่องใส่เดือย Biscuit ช่างไม้อาจใช้เราเตอร์ในการเจาะ ร่องที่เจาะจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่พอดี

เมื่อเจาะร่องเสร็จแล้วก็นำกาวใส่เข้าไปในร่องแล้วใส่เดือย Biscuit จากนั้นก็ทากาวในผิวหน้าไม้ที่สัมผัสกัน แล้วนำชิ้นไม้ทั้งสองมาต่อกัน เดือยนี้เมื่อถูกกาวมันจะขยายตัวทำให้แน่นขึ้น

สำหรับในประเทศไทยอาจยังไม่ค่อยพบเห็นเดือย Biscuit ได้มากนัก


การต่อชนโดยใช้สกรู
2.3 Screwed butt joint (ใช้สกรู)
การต่อชนแบบนี้จะใช้สกรูมายึด โดยจะเจาะรูในไม้ชิ้นที่ยาวกว่าดังรูปด้านซ้ายมือ โดยทั่วไปสกรูมักจะยาวเป็น 3 เท่าของความหนาของไม้ อาจใช้กาวเสริมในผิวรอยต่อเพื่อให้แน่ใจว่าข้อต่อไม้จะแข็งแรงดี (แม้ว่าไม่จำเป็นก็ตาม)

การต่อแบบนี้มักจะมีตำหนิเนื่องจากมีรอยเจาะกลม ๆ ซึ่งอาจดูขัดหูขัดตาสำหรับบางคร ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ในปริมาณมาก ๆ ก็มักจะมีที่ปิดรูพลาสติกเพื่อปิดรู ทำให้ชิ้นงานดูสวยงามยืางขึ้น



2.4 Butt joint with pocket hole screws (ใช้สกรู)
นี้เป็นรูปแบบของรอยต่อชนที่สกรูจะแทรกเข้าไปในรูเจาะที่อยู่หน้าด้าน(หรือหลัง)ของชิ้นไม้ชิ้นหนึ่งในสอง สกรูที่นำมาใช้มักจะสั้นเพื่อไม่ให้สกรูทะเล วิธีการนี้มักใช้ก็ต่อเมื่อต้องการให้ขอบของชิ้นงานมีความสวยงาม (ไม่มีรอยเจาะ)

การต่อชนโดยใช้สกรู

3. การต่อแบบ Miter joint
การต่อแบบนี้คล้ายกับการต่อชน แต่ชิ้นงานของทั้งสองจะถูกตัดเป็นมุม 45 องศา (การต่อชนจะตัด 90 องศา) ข้อต่อแบบนี้ไม่ค่อยแข็งแรงนัก อาจใช้สำหรับเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่ต้องรับแรง เช่น กรอบรูป
การต่อแบบ Miter joint

4. การบากเดือยเหลี่ยม (Finger Joint)
บากเดือยเหลี่ยม (ในภาษาอังกฤษมีหลากหลายชื่อเรียก เช่น Box Joint, Finger Lap) เป็นการต่อไม้โดยการบากเดือยให้เป็นสี่เหลี่ยม(ผืนผ้า) ต่อกันในมุม 90 องศา เหมือนนิ้วมือที่ประกบกัน มันแข็งแรงกว่าการต่อแบบชน (Butt Joint) และทำให้ชิ้นงานมีความสายงามมากขึ้น

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้คือ เลื่อยมือ สิ่ว ตะไบ เครื่องเลื่อยวงเดือน
การต่อโดยใช้เดือยเหลี่ยม


5. ข้อต่อไม้แบบเดือยหางเหยี่ยว (Dovetail Joint)
การต่อกันแบบนี้นิยมใช้มักที่สุดในเฟอร์นิเจอร์เช่น ประตู หน้าต่าง ตู้หรือแม้แต่อาคารไม้ จุดเด่นของข้อต่อเหล่านี้คือมีความต้านทานแรงดึงสูง

การต่อแบบเดือยหางเหยี่ยวน่าจะถูกใช้ในช่วงก่อนประวัติศาสตร์ ตัวอย่างเฟอร์นิเจอร์ที่เก่าแก่ที่ใช้เดือยหางเหยี่ยวถูกฝังอยุ่กับมัมมี่ (Mummy) ที่สืบมาจากราชวงศ์แรกของอียิปต์โบราณ รวมทั้งสุสานของจักรพรรดิจีน แสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่ของเทคนิคนี้

ในยุโยปเรียกข้อต่อแบบนี้ว่า swallow-tail หรือ fantail joint

เดือยไม้ที่ใช้ทำอาคาร
ข้อต่อแบบนี้มีความแข็งแรงมากเนื่องจากชิ้นงานมีลักษณะเป็นหางและขา ซึ่งยากต่อการดึงให้ออกจากกันและเมื่อทากาวแล้วจะแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะดึงออกจากกัน เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ข้อต่อแบบนี้จะมีความแข็งแรงมากเป็นพิเศษ แต่การบากเดือยนั้นต้องใช้ทักษะที่ชำนาญแล้ว

เดือยที่ทำขึ้นมักมีความลาดเอียง 1:6 ถึง 1:8 โดยเฉลี่ย คือ 1:7


ประเภทของเดือยหางเหยี่ยว

  1. เดือยหางเหยี่ยวธรรมดา (Dovetail Joint)
  2. เดือยหางเหยี่ยวแบบเข้ามุม (Half-blind Dovetail)
  3. เดือยหางเหยี่ยว Secret mitred dovetail joint
  4. เดือยหางเหยี่ยวสไลด์ (Sliding dovetail)





5.1 เดือยหางเหยี่ยวธรรมดา (Dovetail Joint)
เดือยประเภทนี้สามารถสังเกตุเห็นรอยเดือยได้อย่างชัดเจน ในสัมยก่อนนั้น เมื่อทำเดือยเสร็จแล้วจะใช้ไม้ปิดในส่วนที่เป็นเดือยอีกรอบเพื่อความสวยงาม แต่ปัจจุบันการทำเดือยนั้นเป็นการแสดงฝีมือ จึงไม่ได้มีการปกปิดร่องรอยเดือยที่สวยงาม

เครื่องมือที่ใช้ทำคือ เลื่อยมือ สิ่วและเครื่องเลาเตอร์

เดือยหางเหยี่ยมแบบธรรมดา
เดือยหางเหยี่ยมแบบธรรมดา

5.2 เดือยหางเหยี่ยวแบบเข้ามุม (Half-blind Dovetail)
การเข้ามุมแบบนี้จะทำให้การมองมาจากมุมหนึ่งไม่เห็นรอยต่อ เช่นภาพด้านล่างนี้ เมื่อมองมาจากทางด้านซ้ายมือจะไม่เห็นร่องรอยของการต่อ รอต่อแบบนี้มักใช้กับชิ้นชักต่าง ๆ ซึ่งนิยมปกปิดรอยต่อไว้
เดือยหางเหยี่ยมแบบเข้ามุม

5.3 เดือยหางเหยี่ยว Secret mitred dovetail joint
การต่อแบบนี้จะมีความแข็งแรงมาก แต่มีวิธีการทำที่ซับซ้อนกว่าแบบอื่น ๆ
เดือยหางเหยี่ยวแบบ Secret mitred

5.4 เดือยหางเหยี่ยวสไลด์ (Sliding dovetail)

เดือยหางเหยี่ยมสไลด์
ชิ้นไม้ที่ตั้งอยู่ในแนวดิ่ง (ในภาพ) จะเรียกว่า เดือยหางเหยี่ยวตัวผู้ และชิ้นที่วางในแนวราบ (ในภาพด้านบน) เรียกว่า เดือยหางเหยี่ยวตัวเมีย

เครื่องมือที่ใช้ทำคือ เลื่อยมือ สิ่วและเครื่องเลาเตอร์


6. ข้อต่อบากปากชน (Dado Joint)
เป็นช่องหรือร่องที่ตัดเข้าไปในเนื้อไม้ ข้อต่อแบบนี้ใช้กับงานธรรมดา เช่น ชั้นวางหนังสือ ชั้นวางของ เป็นต้น เมื่อทางสีแล้วจะปกปิดรอยต่อได้ดีมาก

ภาพข้อต่อบากปากชน

ภาพข้อต่อบากปากชน


7. ข้อต่อแบบบากร่อง (Groove Joint)
ในงานไม้เช่นการทำประตูหรือหน้าต่างมักจะใช้เทคนิคการต่อแบบบากร่อง ซึ่งจะบากเป็นแนวขนานกับขอบ


8. ข้อต่อแบบร่องลิ้น (Tongue and groove)
ข้อต่อแบบนี้ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในพื้นหรือผนังห้อง เนื่องจากเกิดผลกระทบของการหดตัวน้อย

ร่องลิ้นเป็นการเรียงวัสดุที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น แผ่นพื้นปาเก้ ในสมัยก่อนนั้นร่องเช่นนี้จะใช้ในการสร้างแบบหล่ออีกด้วย

ข้อต่อแบบร่องลิ้น

9. ข้อต่อเดือยเหลี่ยม (Mortise and tenon)
ข้อต่อแบบนี้ถูกใช้มาพัน ๆ ปีโดยคนงานไม้ โดยการต่อไม้เข้าด้วยกัน มันเป็นรูปแบบที่ง่ายและมีความแข็งแรงใช้ได้ ดังในภาพเป็นไม้สองชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นร่องใส่เดือยและอีกชิ้นเป็นเดือยเหลี่ยม เดือยนี้จะถูกทำให้ใส่ร่องได้พอดี อาจมีการติดกาวเสริมความแข็วงแรง ในสมัยก่อนจะใช้ลิ่มเพื่อเพิ่มความแข็งแรง

โดยทั่วไปขนาดของร่องและเดือยนั้นจะขึ้นอยู่กับความหนาของไม้
ข้อต่อเดือยเหลี่ยม




บรรณานุกรม

1. Wikipedia. (2557). Woodworking joints. ค้นข้อมูล วันที่ 12  มกราคม 2558. จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Woodworking_joints
2. Wikipedia. (2557). Butt joint. ค้นข้อมูล วันที่ 12  มกราคม 2558. จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Butt_joint

รถบดถนน | Road roller

รถบดถนน (ภาษาอังกฤษ Road roller บางครั้งก็เรียกว่า Roller-compactor หรือ Roller) เป็นรถบดที่ใช้ในงานวิศวกรรม ใช้บดอัดดิน กรวด คอนกรีตหรือยางมะตอยในการก่อสร้างถนนหรือฐานราก

ในปัจจุบันในบางส่วนของโลก รดบดยังคงเป็นรดไอน้ำ (Steamroller)


รถบดที่ใช้ม้าลาก
ประวัติย่อของรถบด
รถบดในช่วงแรกจะใช้ม้าลาก และน่าจะใช้แค่ในงานเกษตรเท่านั้น ประสิทธิภาพของการบดอัดขึ้นอยู่กับน้ำหนักของลูกกลิ้ง (Roller)

ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 การขับเคลื่อนจะใช้วิธีการใช้ม้าลาก ต่อมารถบดเครื่องยนต์ไอน้ำได้เกิดขึ้น เป็นเครื่องยนต์ลูกสูบเดียว เครื่องยนต์มักใช้เกียร์ต่ำเพื่อให้เครื่องยนต์เกิดแรงสั่นสะเทือนสูง

ในปี ค.ศ. 1910 เครื่องยนต์คู่เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ

ในช่วงปี ค.ศ. 1950 ถนนในอเมริกาได้ใช้รถบดไอน้ำในการบดอัดถนน

บางส่วนในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ยังคงให้บริการในเชิงพาณิชย์จนกระทั้งถึงต้นปี 1970

รถบดแบบเครื่องยนต์ไอน้ำ
ในช่วง ค.ศ. 2000 เครื่องยนต์ได้มีการพัฒนาไปมาก เครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซลค่อย ๆ มาแทนที่เครื่องยนต์ไอน้ำแบบเดิม โดยมีกลไกลการทำงานไม่แตกต่างกันมาก มันส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังล้อที่มีขนาดใหญ่ รถบดที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล


รถบดถนนไอน้ำ (Steamroller)
รถบดเป็นเครื่องจักรในงานก่อสร้างที่ใช้สำหรับการปรับระดับพื้นผิว เช่น ถนนหรือสนามบิน โดยใช้น้ำหนักของทั้งตัวรถและลูกกลิ้งในการบดอัดดิน

ในสหราชอาณาจักร หลายคนยังคงนำรถบดไอน้ำมาใช้ตลอดปี ค.ศ. 1960-1970 เช่นการสร้างทางด่วน กระทั้งช่วงต้นปี 1970 รถบดไอน้ำถูกใช้ลดลง มันถูกนำมาใช้ในการบำรุงรักษาถนน

รถบดถนนแบบเครื่องยนต์ไอน้ำ


การใช้รถบดในการบดอัดถนน
รถบดถนนจะใช้น้ำหนักของตัวเองในการบีบอัดพื้นผิวของถนน หรือใช้การสั่นสะเทือน ในการบดอัดดินเดิมนั้นมักจะใช้รถบดแบบ "ตีนแกะ" ซึ่งจะมีพื้นที่น้อยทำให้เกิดแรงกดสูง

รถบดเครื่องยนต์ดีเซล
ประเภทของรถบด
  • Pedestrian operated
  • Ride-on smooth finish
  • Ride-on soil/landfill compactor with pads/feet/spikes


รถบด(เครื่องยนต์)แบบเดินตามหลัง (walk-behind road roller)
เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่เล็ก ๆ
สะดวกในการใช้งาน การบำรุงรักษาไม่แพง


รถบดขนาดเล็กแบบขึ้นขี่ (ride-on road roller)


รถบดแบบตีนแกะ (sheepsfoot drum)
ชายเลียงแกะได้เดินทางพาแกะออกไปหากิน เขาพาแกะเดินผ่านที่เดิม ๆ ซ้ำ ๆ
เขาพบว่าเส้นทางที่แกะเดินมีพื้นที่แข็งกว่าที่อื่น ๆ
จึงเกิดเป็นแนวคิดรถบดตีนแกะ
(ไม่รู้ว่าเป็นเพียงเรื่องเล่ามาหรือเป็นเรื่องจริง)


รถบดขนาดใหญ่แบบขึ้นขี่ (ride-on road roller)


รถบด Caterpillar CS-533E
ลูกกลิ้งสั่นสะเทือน (vibratory roller)


บรรณานุกรม

1. Wikipedia. (2557). Road roller. ค้นข้อมูล วันที่ 11 มกราคม 2558. จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Road_roller
2. Wikipedia. (2557). Steamroller. ค้นข้อมูล วันที่ 11 มกราคม 2558. จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Steamroller

บ้านไม้ชั้นเดียว บ้านคู่แฝด | One Storey Wooden Twin House

โดยส่วนใหญ่ผมมักจะหารูปหรือข้อมูลจากเน็ตมาเขียน
นาน ๆ ทีจะได้มีรูปที่ถ่ายด้วยตัวเองสักที

มันเป็นบ้านไม้ที่ติดกัน ราคา 600,000 บาท
ตัวบ้านยกพื้นเพียง 15 ซม.
 หน้าบ้าน

 หน้าบ้านมีระเบียงบ้านที่มีขนาด 2.5x3.0 เมตร
ภายในบ้านมีห้องขนาด 3.0x3.0 เมตร

 ด้านข้างของบ้าน
ชานไม้ตรงกลางระหว่างบ้านยื่นออกมาประมาณ 0.5 เมตร

 มุมหลังบ้าน ไม่มีประตูออก แต่มีหน้าต่างขนาดใหญ่ขนาดเท่าประตู

 ด้านข้างของตัวบ้าน

 ระหว่างตัวบ้าน 2 หลังนี้จะเป็นชานไม้


 หน้าต่างหลังบ้านเป็นหน้าต่างไม้แบบเลื่อน




 ติดป้ายราคาไว้ที่เสาหน้าบ้าน
ราคา 600,000 บาท

อันนี้เป็นเพดานของบ้าน
เล่นระดับ 3 ระดับ

ก่อสร้างเนินชะลอความเร็วใน มข. | Construction in KKU

ในช่วงปลายปี 2557 มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในของแก่นได้มีโครงการสร้างเนินควบคุมความเร็ว มีราคากลางอยู่ที่เกือบ 2 แสน

มีผู้ยื่นข้อเสนอที่ดีที่สุด(มั้งน่ะ) โดยมีราคาอยู่ที่ 160,000 บาท จึงได้งานไปทำ

หลังจากที่ติดป้ายราคาต่าง ๆ ได้มีผู้นำเรื่องนี้ไปลงในโซเชียล โดยเฉพาะเฟสบุค โดยตั้งคำถามว่า ทำไมราคาถึงได้แพงขนาดนั้น ทั้งที่ราคายางมะตอยก็ไม่น่าจะแพง

จะว่าไป การชี้แจงแบบใส่รายละเอียดน้อยนั้นอาจทำให้หลายคนเข้าใจไปว่าผู้บริหารโกงกิน ทั้ง ๆ ที่อาจจะไม่ได้โกงแต่อย่างใด

คณะกรรมการตรวจจ้าง
นายชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์ ประธานกรรมการ
นางกังวาน ทวีฤทธิ์ กรรมการ
นายภิรมย์ สารรัตน์ กรรมการ

ผู้ควบคุมงาน นายธันวา อารยางกรู วิศวกรผู้ควบคุมงาน