เฟอร์นิเจอร์ไม้ เช่น ประตูหน้าต่าง เป็นส่วนหนึ่งของงานไม้ที่เกี่ยวข้องกับการนำชิ้นส่วนของไม้มาต่อรวมกัน เพื่อผลิตสิ่งที่ซับซ้อนมากขึ้น บางข้อต่อก็ใช้วิธียึด ผูก หรือใช้กาวขณะที่วิธีอื่น ๆ นั้นจะใช้วัสดุที่เป็นไม้เท่านั้น ลักษณะของไม้ที่จะเป็นข้อต่อได้ควรจะเหนี่ยวและแข็ง เทคนิคการการทำข้อต่อของไม้มีวิธีการที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ผลิต
สำหรับในบทความนี้จะมีตัวอย่างข้อต่อของงานไม้ดังต่อไปนี้
- ข้อต่อไม้แบบ Bridle joint
- การต่อชน (Butt joint)
- การต่อแบบ Miter joint
- การบากเดือยเหลี่ยม (Finger Joint)
- เดือยหางเหยี่ยว (Dovetail Joint)
- ข้อต่อบากปากชน (Dado Joint)
- ข้อต่อแบบบากร่อง (Groove Joint)
- ข้อต่อแบบร่องลิ้น (Tongue and groove)
- ข้อต่อเดือยเหลี่ยม
1. ข้อต่อไม้แบบ Bridle joint
ข้อต่องานไม้แบบ Bridle joint |
corner bridle joint (หรือ slot mortise และ tenon) เป็นการต่อไม้ทั้ง 2 ชิ้นโดยมีจุดต่อที่ปลายของไม้ ข้อต่อแบบนี้จะรับแรงกดได้ดี บางครั้งอาจเสริม Pin เจ้าไปด้สนเพื่อเพิ่มความมั่นคง
Corner bridles มักจะใช้กับไม้ที่มีลักษณะเป็นกรอบ ชิ้นส่วนไม้จะสามารถถอดออกจากกันได้ง่ายโดยไม้ต้องทำลายไม้(หากต้องการถอด)
T-bridle joint เป็นการต่อของไม้ที่เป็นรูปตัว T โดยที่ปลายไม้ชิ้นหนึ่งต่อเข้ากับบริเวณตรงกลางของไม้อีกชิ้นหนึ่ง
ข้อต่องานไม้แบบ T-bridle joint |
2. การต่อชน (Butt joint)
ต่อชนเป็นเทคนิคการนำไม้ทั้งสองชิ้นมาต่อก่อน โดยใช้ก้นมาชนกัน เป็นวิธีที่ง่ายและมีต้นทุนน้อยที่สุดเนื่องจากไม่จำเป็นต้องตัดชิ้นงาน และมันยังเป็นข้อต่อที่อ่อนแอที่สุดหากรูปแบบการเสริมแรงไม่เพียงพอ เช่นหากใช้กาวเพียงอย่างเดียว
สำหรับการต่อชนจะมีเทคนิคย่อย ๆ ตามหัวข้อดังนี้
- Dowel reinforced butt joint (ใช้เดือย)
- Biscuit reinforced butt joint
- Screwed butt joint (ใช้สกรู)
- Butt joint with pocket hole screws (ใช้สกรู)
- ข้อต่อไม้แบบเดือยหางเหยี่ยว (Dovetail Joint)
- ข้อต่อแบบบากร่อง (Groove)
ข้อต่อแบบใช้เดือยกลม |
การใช้เดือยในการต่อไม้นั้นเป็นวิธีที่ง่ายและเป็นวิธีพื้นฐานในการต่อไม้เพื่อทำเฟอร์นิเจอร์ เช่น เก้าอี้ ตู้
เทคนิคนี้ทำได้โดยการตัดไม้ให้เท่ากันแล้วเจาะรู(ควรใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาด) รูเจาะต้องตรงกันอย่างสมบูรณ์ จากนั้นก็นำเดือยมาใส่ ผิวหน้าของไม้ทั้งสองที่สัมผัสกันนั้นจะถูกทาด้วยกาว
การใช้กาวเสริมความแข็งแรงจะดีกว่าการไม่ทากาวเลย แม้ว่ากาวจะเสื่อมสภาพไปแล้ว แต่เดือยไม้จะยังคงอยู่ เมื่อเวลาผ่านไปเดือยไม้จะเริ่มหดตัวเป็นเหตุให้ข้อต่อหลวมได้ ซึ่งเห็นได้ชัดในเก้าอี้เก่า ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดเสียง เอี๊ยด! ข้อต่อแบบนี้ไม่นิยมใช้กับเฟอร์นิเจอร์ที่มีราคาแพง
ข้อต่อแบบ Biscuit reinforced butt joint |
เป็นการต่อไม้ที่เป็นนวัตกรรมล่าสุดในการต่อชน Biscuit มีลักษณะเป็นรูปทรงรี ทำมาจากไม้ที่แห้งเป็นพิเศษและถูกบีบอีดอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้เดือยไม่หดตัวและมีความคงทนสูง
วิธีการทำข้อต่อแบบนี้จะเหมือนแบบเดือยกลม เพียงแค่เปลี่ยนจากเดือยกลมเป็นเดือยวงรี
สำหรับการทำร่องใส่เดือย Biscuit ช่างไม้อาจใช้เราเตอร์ในการเจาะ ร่องที่เจาะจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่พอดี
เมื่อเจาะร่องเสร็จแล้วก็นำกาวใส่เข้าไปในร่องแล้วใส่เดือย Biscuit จากนั้นก็ทากาวในผิวหน้าไม้ที่สัมผัสกัน แล้วนำชิ้นไม้ทั้งสองมาต่อกัน เดือยนี้เมื่อถูกกาวมันจะขยายตัวทำให้แน่นขึ้น
สำหรับในประเทศไทยอาจยังไม่ค่อยพบเห็นเดือย Biscuit ได้มากนัก
การต่อชนโดยใช้สกรู |
การต่อชนแบบนี้จะใช้สกรูมายึด โดยจะเจาะรูในไม้ชิ้นที่ยาวกว่าดังรูปด้านซ้ายมือ โดยทั่วไปสกรูมักจะยาวเป็น 3 เท่าของความหนาของไม้ อาจใช้กาวเสริมในผิวรอยต่อเพื่อให้แน่ใจว่าข้อต่อไม้จะแข็งแรงดี (แม้ว่าไม่จำเป็นก็ตาม)
การต่อแบบนี้มักจะมีตำหนิเนื่องจากมีรอยเจาะกลม ๆ ซึ่งอาจดูขัดหูขัดตาสำหรับบางคร ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ในปริมาณมาก ๆ ก็มักจะมีที่ปิดรูพลาสติกเพื่อปิดรู ทำให้ชิ้นงานดูสวยงามยืางขึ้น
2.4 Butt joint with pocket hole screws (ใช้สกรู)
นี้เป็นรูปแบบของรอยต่อชนที่สกรูจะแทรกเข้าไปในรูเจาะที่อยู่หน้าด้าน(หรือหลัง)ของชิ้นไม้ชิ้นหนึ่งในสอง สกรูที่นำมาใช้มักจะสั้นเพื่อไม่ให้สกรูทะเล วิธีการนี้มักใช้ก็ต่อเมื่อต้องการให้ขอบของชิ้นงานมีความสวยงาม (ไม่มีรอยเจาะ)
การต่อชนโดยใช้สกรู |
3. การต่อแบบ Miter joint
การต่อแบบนี้คล้ายกับการต่อชน แต่ชิ้นงานของทั้งสองจะถูกตัดเป็นมุม 45 องศา (การต่อชนจะตัด 90 องศา) ข้อต่อแบบนี้ไม่ค่อยแข็งแรงนัก อาจใช้สำหรับเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่ต้องรับแรง เช่น กรอบรูป
การต่อแบบ Miter joint |
4. การบากเดือยเหลี่ยม (Finger Joint)
บากเดือยเหลี่ยม (ในภาษาอังกฤษมีหลากหลายชื่อเรียก เช่น Box Joint, Finger Lap) เป็นการต่อไม้โดยการบากเดือยให้เป็นสี่เหลี่ยม(ผืนผ้า) ต่อกันในมุม 90 องศา เหมือนนิ้วมือที่ประกบกัน มันแข็งแรงกว่าการต่อแบบชน (Butt Joint) และทำให้ชิ้นงานมีความสายงามมากขึ้น
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้คือ เลื่อยมือ สิ่ว ตะไบ เครื่องเลื่อยวงเดือน
การต่อโดยใช้เดือยเหลี่ยม |
5. ข้อต่อไม้แบบเดือยหางเหยี่ยว (Dovetail Joint)
การต่อกันแบบนี้นิยมใช้มักที่สุดในเฟอร์นิเจอร์เช่น ประตู หน้าต่าง ตู้หรือแม้แต่อาคารไม้ จุดเด่นของข้อต่อเหล่านี้คือมีความต้านทานแรงดึงสูง
การต่อแบบเดือยหางเหยี่ยวน่าจะถูกใช้ในช่วงก่อนประวัติศาสตร์ ตัวอย่างเฟอร์นิเจอร์ที่เก่าแก่ที่ใช้เดือยหางเหยี่ยวถูกฝังอยุ่กับมัมมี่ (Mummy) ที่สืบมาจากราชวงศ์แรกของอียิปต์โบราณ รวมทั้งสุสานของจักรพรรดิจีน แสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่ของเทคนิคนี้
ในยุโยปเรียกข้อต่อแบบนี้ว่า swallow-tail หรือ fantail joint
เดือยไม้ที่ใช้ทำอาคาร |
เดือยที่ทำขึ้นมักมีความลาดเอียง 1:6 ถึง 1:8 โดยเฉลี่ย คือ 1:7
ประเภทของเดือยหางเหยี่ยว
- เดือยหางเหยี่ยวธรรมดา (Dovetail Joint)
- เดือยหางเหยี่ยวแบบเข้ามุม (Half-blind Dovetail)
- เดือยหางเหยี่ยว Secret mitred dovetail joint
- เดือยหางเหยี่ยวสไลด์ (Sliding dovetail)
5.1 เดือยหางเหยี่ยวธรรมดา (Dovetail Joint)
เดือยประเภทนี้สามารถสังเกตุเห็นรอยเดือยได้อย่างชัดเจน ในสัมยก่อนนั้น เมื่อทำเดือยเสร็จแล้วจะใช้ไม้ปิดในส่วนที่เป็นเดือยอีกรอบเพื่อความสวยงาม แต่ปัจจุบันการทำเดือยนั้นเป็นการแสดงฝีมือ จึงไม่ได้มีการปกปิดร่องรอยเดือยที่สวยงาม
เครื่องมือที่ใช้ทำคือ เลื่อยมือ สิ่วและเครื่องเลาเตอร์
เดือยหางเหยี่ยมแบบธรรมดา |
เดือยหางเหยี่ยมแบบธรรมดา |
5.2 เดือยหางเหยี่ยวแบบเข้ามุม (Half-blind Dovetail)
การเข้ามุมแบบนี้จะทำให้การมองมาจากมุมหนึ่งไม่เห็นรอยต่อ เช่นภาพด้านล่างนี้ เมื่อมองมาจากทางด้านซ้ายมือจะไม่เห็นร่องรอยของการต่อ รอต่อแบบนี้มักใช้กับชิ้นชักต่าง ๆ ซึ่งนิยมปกปิดรอยต่อไว้
เดือยหางเหยี่ยมแบบเข้ามุม |
5.3 เดือยหางเหยี่ยว Secret mitred dovetail joint
การต่อแบบนี้จะมีความแข็งแรงมาก แต่มีวิธีการทำที่ซับซ้อนกว่าแบบอื่น ๆ
เดือยหางเหยี่ยวแบบ Secret mitred |
5.4 เดือยหางเหยี่ยวสไลด์ (Sliding dovetail)
เดือยหางเหยี่ยมสไลด์ |
เครื่องมือที่ใช้ทำคือ เลื่อยมือ สิ่วและเครื่องเลาเตอร์
6. ข้อต่อบากปากชน (Dado Joint)
เป็นช่องหรือร่องที่ตัดเข้าไปในเนื้อไม้ ข้อต่อแบบนี้ใช้กับงานธรรมดา เช่น ชั้นวางหนังสือ ชั้นวางของ เป็นต้น เมื่อทางสีแล้วจะปกปิดรอยต่อได้ดีมาก
ภาพข้อต่อบากปากชน |
ภาพข้อต่อบากปากชน |
7. ข้อต่อแบบบากร่อง (Groove Joint)
ในงานไม้เช่นการทำประตูหรือหน้าต่างมักจะใช้เทคนิคการต่อแบบบากร่อง ซึ่งจะบากเป็นแนวขนานกับขอบ
8. ข้อต่อแบบร่องลิ้น (Tongue and groove)
ข้อต่อแบบนี้ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในพื้นหรือผนังห้อง เนื่องจากเกิดผลกระทบของการหดตัวน้อย
ร่องลิ้นเป็นการเรียงวัสดุที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น แผ่นพื้นปาเก้ ในสมัยก่อนนั้นร่องเช่นนี้จะใช้ในการสร้างแบบหล่ออีกด้วย
ข้อต่อแบบร่องลิ้น |
9. ข้อต่อเดือยเหลี่ยม (Mortise and tenon)
ข้อต่อแบบนี้ถูกใช้มาพัน ๆ ปีโดยคนงานไม้ โดยการต่อไม้เข้าด้วยกัน มันเป็นรูปแบบที่ง่ายและมีความแข็งแรงใช้ได้ ดังในภาพเป็นไม้สองชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นร่องใส่เดือยและอีกชิ้นเป็นเดือยเหลี่ยม เดือยนี้จะถูกทำให้ใส่ร่องได้พอดี อาจมีการติดกาวเสริมความแข็วงแรง ในสมัยก่อนจะใช้ลิ่มเพื่อเพิ่มความแข็งแรง
โดยทั่วไปขนาดของร่องและเดือยนั้นจะขึ้นอยู่กับความหนาของไม้
ข้อต่อเดือยเหลี่ยม |
บรรณานุกรม
1. Wikipedia. (2557). Woodworking joints. ค้นข้อมูล วันที่ 12 มกราคม 2558. จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Woodworking_joints
2. Wikipedia. (2557). Butt joint. ค้นข้อมูล วันที่ 12 มกราคม 2558. จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Butt_joint