บ้านโมเดิร์น 2 ชั้น ขนาดไม่ใหญ่มาก

      แปลนบ้านหลังนี้มีพื้นที่ใช้สอยราวๆ 192 ตารางเมตร ลักษณะบ้านมีทางเข้าขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นประตูเลื่อนที่ทำด้วยกระจก แบบบ้านออกแบบให้เป็นมากกว่าบ้าน อาจใช้ทำเป็นห้องสตูดิโอ หรือห้องทำงานได้ โดยที่แขกที่เข้ามา จะไม่ต้องเดินผ่านห้องนอน หรือห้องส่วนตัว บ้านหลังนี้มีที่จอดรถ 2 คัน









หน้าบ้าน



ภายในตัวบ้าน


คุณสมบัติของบ้าน

  • ห้องน้ำ : 3
  • ห้องนอน : 2
  • Dining: Breakfast Bar, Dining in Greatroom
  • โรงรถ : จอดได้ 2 คัน
  • พื้นที่ใช้สอย : 192 ตารางเมตร
  • Living Areas: Great Room, Flex Space: Studio/Office/Media Room, Computer Area
  • Options: 3rd Bedroom i.l.o. Studio
  • โครงสร้างบ้าน : 2x6 Exterior Wall Construction, Stucco Finish, Cultured Stone Finish, Flat/Foam Roof
  • กว้างxลึก : 36 ft x 62 ft or 62 ft x 36 ft
  • บ้านกี่ชั้น : 2 ชั้น
  • Outdoor Areas: Covered Patio, Covered Entry, Main Deck, Master Deck
  • Other Features: Suited for Corner Lot
  • เพดานสูงประมาณ 2.85 เมตร

ที่มา www.thehouseplansite.com

แนวคิด บ้านโครงเหล็กอย่างง่าย

       เป็นแนวคิดที่จะสร้างที่พักอาศัยแบบราคาถูก จริงๆแล้วไม่แน่ใจว่าจะเรียกว่าบ้านได้รึปล่าว โครงสร้างเหล็กมันทำง่าย (แต่ว่าแพงกว่าคอนกรีต) สั่งซื้อเหล็กมาจากร้าน แล้วก็เอามาประกอบได้เลย ส่วนผนังก็อาจจะใช้วัสดุที่หนาหน่อย ใช้สกรูยึด ง่ายๆ มันน่าจะเหมาะกับการทำเป็นออฟฟิสมากกว่า

ถือได้ว่าเป็นที่พักที่ทำงานที่ไม่ค่อยมั่นคงอีกแบบ แต่ช่างเถอะ เบื่อก็รื้อทิ้ง...ถ้ามีตัง!
ถ้าไม่ค่อยมีตัง... ก็สร้างบ้านคอนกรีตธรรมดาจะเวร์คกว่า






อันนี้เป็นออฟฟิสที่ใช้ล้างรถ ผมบังเอิญมองไปเห็น จึงถ่ายรุปไว้

วิธีการทดสอบหาปริมาณคลอไรด์ที่ซึมผ่านเนื้อคอนกรีต | NordTest Method NT BUILD 492 Approved 1999-11

NordTest Method NT BUILD 492 Approved 1999-11



1. ขอบเขต
      หาปริมาณคลอไรด์ที่ซึมผ่านเนื้อคอนกรีต, มอร์ต้า จากการทดสอบโดยวิธี .การซึมผ่านแบบการไหลไม่คงที่ (non-steady-state)

2. การใช้ในสนาม
      การทดสอบนี้จะใช้ตัวอย่างที่แข็งตัวแล้ว อาจหล่อขึ้นในห้องแลป หรืออาจเจาะมาจากโครงสร้างจริง สัมประสิทธิการซึมผ่านของคลอไรด์ หาได้โดยการวัดค่า.ความต้านทานการกัดกร่อนของคลอไรด์. ค่าการซึมผ่านของคลอไรด์นี้ ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบเป็นค่า .สัมประสิทธิการแพร่กระจาย.ได้
สัมประสิทธิการแพร่กระจายของคลอไรด์ ต้องใช้วิธีการทดสอบอื่น เช่น

  • Non-steady-state immersion test.
  • Steady-state migration test.


3. เอกสารอ้างอิง

  1. NT BUILD 201
  2. NT BUILD 202
  3. NT BUILD 208
  4. Tang.....


4. คำนิยาม

  1. การซึมผ่านของคลอไรด์ : การเคลื่อนที่ของไอออนภายใต้การกระทำของสนามอิเล็กตรอนที่มาจากภายนอก
  2. การแพร่กระจายของคลอไรด์ : กสรเคลื่อนที่ของโมเลกุล หรือไอออนจากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำ


รูปที่ 1 รูปก้อนคอนกรีตที่ใช้
5. ตัวอย่างที่ใช้ทดสอบ
วิธีการทดสอบนี้ จะใช้ตัวอย่างทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 มม. และหนา 50 มม. สามาาถตัดมาจากตัวอย่างทรงกระบอกมาตรฐาน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 มม. สูง 200 มม. หรือเจาะมาจากโครงสร้างจริง จำนวน 3 ชิ้น










รูปที่ 2 รูปคอนกรีตยึดกับท่อ
6. วิธีการทดสอบ

     6.1 หลักการ : อิเล็กตรอนจากภายนอกเป็นตัวกระทำให้ไอออนของคลอไรด์ที่อยู่ภายนอกเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในเนื้อตัวอย่างคอนกรีต เมื่อระยะเวลาการทดสอบสิ้นสุด จึงนำตัวอย่างมาผ่าครึ่ง จะเห็นร่องรอยของคลอไรด์ ให้นำสีมาขีดตามรอยที่คลอไรด์ซึมผ่านได้
การวัดความลึก วัดจากร่องรอยของคลอไรด์ (จะมีสีขาว-เงิน) หลังจากนั้น นำค่าความลึกที่คลอไรด์ซึมผ่านได้ไปคำนวนค่า.สัมประสอทธิการซึมผ่านของคลอไรด์.้

      6.2 สารเคมี และ อุปกรณ์

         6.2.1 สารเคมี

  1. น้ำกลั่น
  2. แคลเซียมไฮดรอกไซด์. Ca(OH)2
  3. โซเดียมคลอไรด์. NaCl
  4. โซเดียมไฮดรอกไซด์. NaOH
  5. ซิลเวอร์ไรเตรต. AgNO3
  6. สารเคมีสำหรับวิเคราะห์คลอไรด์ (สำหรับใช้วิเคราะห์เพิ่มเติม)


รูปที่ 3 คอนกรีตตัวอย่างใช่ในสารละลาย
          6.2.2 อุปกรณ์

  1. .โซ่เพชร ระบายความร้อนด้วยน้ำ
  2. .ตู้เก็บสูญญากาศ: สามารถเก็บตัวอย่างได้ 3 ชิ้น
  3. .ปั้มสูญญากาศ : รักษาความดันให้น้อยกว่า 5 kPa ในตู้สูญญากาศ
  4. .อุปกรณ์สำหรับติดตั้งตัวอย่าง


  • ..แผ่นยางซิลิโคน : ด้านในและด้านนอก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 หรือ 115 มม., ยาวประมาณ 150 มม.
  • ..แคล้ม (Clamp) : เส้นผ่านศูนย์กลาง 105-115, หนา 20 มม . , ยาวประมาณ 150 มม.
  • ..Catholyte reservoir : ขนาด 370*270280 มม.
  • ..แผ่นรองพลาสติก
  • ..ขั้วแคโทด หนาประมาณ 0.5 มม.
  • ..ขั้วแอโนด หนาประมาณ 0.5 มม.


  1. .หม้อแปลงไฟ : จ่ายไฟ 0~60 V DC ความคลาดเคลื่อน 0.1 V.
  2. .แอมมิเตอร์ ความละเอียด 1 mA.
  3. .เทอร์โมมิเตอร์ ความละเอียด 1 °C.
  4. .อุปกรณ์ผ่าตัวอย่าง
  5. .ปากกาสี สำหรับขีดรอยคลอไรด์
  6. .ไม้บรรทัด


          6.3.2 สิ่งที่จำเป็น
      หลังจากตัดตัวอย่างแล้ว, ให้ทำความสะอาดตัวอย่างให้สะอาด แล้วห่อด้วยพลาสติก เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้น เมื่อตัวอย่างมีผิวแห้งแล้ว นำมาใส่ตู้รักษาความดัน ลดความดันให้อยู่ในช่วง 1-5 kPa อย่างรวดเร็ว รอ 3 ชม. จากนั้นเติมสารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) ลงไป และปล่อยให้ตัวอย่างอยู่ในสารละลายเป็นเวลา 18 ชม. (ยังคงรักษาความดันให้อยู่ในช่วง 1-5 kPa โดยใช้เครื่องปั้มสูญญากาศ)

6.4 ขั้นตอนการทดสอบ

   6.4.1 Catholyte และ Anolyte
  1. สำหรับสารละลาย Catholyte ให้ใช้โซเดียมคลอไรด์ 10% (เติมโซเดียมคลอไรด์ 100 กรัม ลงในน้ำ 900 กรัม)
  2. สำหรับสารละลาย Anolyte ให้เติมโซเดียมไฮดรอกไซด์ 12 กรัม ลงในน้ำกลั่น 1,000 กรัม


6.4.2 อุณหภูมิ

  1. รักษาอุณหภูมิของสารละลายและตัวอย่างที่ใช้ทดสอบ ให้อยู่ในช่วง 20~25 °C.


รูปที่ 4 ตัวอย่างคอนกรีตถูกทดสอบ
6.4.3 การเตรียมการทดสอบ
  1. เติมสารละลาย Cat ลงในอ่าง ในปริมาณ 12 ลิตร
  2. ใส่ยางรองตัวอย่าง ดังรูปที่ และยึดให้แน่น
  3. นำตัวอย่างลงอ่าง
  4. ใส่แขนเสื้อ และเติมสารละลาย ano ในปริมาณ 300 มิลลิกรัม
  5. แช่ขั้วแอโนดในสารละลาย and
  6. ต่อขั้วแค่โทดที่ขั้วลบ และต่อแอโนดที่ขั้วบวก



6.4.4 การทดสอบการซึมผ่าน

  1. ตั้งค่าแรงดันไฟฟ้าไว้ที่ 30 V. แล้วเปิดเครื่อง และบันทึกปริมาณกระแสไฟฟ้าตลอดความยาวของตัวอย่าง
  2. ปรับแรงดันไฟ(ถ้าจำเป็น) หลังจากปรับแล้ว ให้บันทึกค่าปริมาณกระแสไฟฟ้าใหม่
  3. บันทึกอุณหภูมิเริ่มต้นในแต่ละสารละลาย and
  4. เลือกช่วงเวลาในการทดสอบ ตามกระแสไฟฟ้าเริ่มต้น ดูตาราง
  5. บันทึกกระแสไฟฟ้าและอุณหภูมิสุดท้าย


รูปที่ 5 วัดระยะที่คลอไรด์ซึมเข้าในตัวอย่างคอนกรีต
6.4.5 การวัดระยะที่คลอไรด์สามารถซึมผ่านได้

  1. ถอดแยกชิ้นส่วนตามที่เคยได้ประกอบไว้ สามารถใช้แท่งไม้ในการช่วยถอดยางรองได้
  2. ยกตัวอย่างขึ้นจากน้ำ
  3. เฉ็ดน้ำส่วนเกินที่อยู่ผิวหน้าของตัวอย่างออก
  4. แยกชิ้นส่วนของตัวอย่างออกเป็น 2 ชิ้น เลือกตัวอย่างที่หน้าตัดมีความตั้งฉากกันมากที่สุด แล้ววัดระยะที่คลอไรด์ซึมผ่านได้
  5. ฉีดซิลเวอร์ไนเตรทความเข้มข้น 0.1 โมล ในผิวหน้าตัวอย่าง
  6. หลังจาก 15 นาที จะเห็นรอยคลอไรด์ชัดเจนขึ้น จะช่วยให้วัดระยะได้แม่นยำมากขึ้น ให้อ่านค่าความละเอียด 0.1 มม.



6.4.6 ปริมาณคลอไรด์

  1. นำตัวอย่างที่ยังไม่แบ่งครึ่งมาทำการเฉือน หนาประมาณ 5 มม. ให้ขนานกับผิวหน้าที่สัมผัสกับสารละลายคลอไรด์ Cath
  2. คำนวนปริมาณคลอไรด์ที่อยู่ในแผ่นสไลด์หนา 5 มม. โดยวิธีของ NT BUILD 208 หรืออาจใช้วิธีอื่นที่ให้ผลได้แม่นยำมากกว่า




6.5 การแสดงผลการทดสอบ

6.5.1 ผลการทดสอบ
สมการที่ใช้หาค่าสัมประสิทธิการซึมผ่านของคลอไรด์แบบการไหลไม่คงตัว คือ ...

แนะนำ วิธี การเลือกท่อน้ำในบ้าน

ในการสร้างบ้านสักหลัง จะมีค่าวัสดุท่อน้ำราวๆ 1 เปอร์เซ็นเท่านั้น
สมมุติว่า บ้านราคา 1 ล้านบ้าน จะมีค่าท่อน้ำราวๆ 1 หมื่นบาทเท่านั้น
สมมุติว่าคุณประหยัด ใช้ของถูกๆ จะประหยัดเต็มที่ได้แค่ ราวๆ 0.2% เท่านั้น ซึ่งไม่คุ้มกับปัญหาที่ตามมา
โดยเฉพาะพวกท่อที่อยู่ในผนัง หรือในดิน เวลามันรั่วนิ ยาก ค่าซ่อมแพง ผมจึงอยากแนะนำ ว่า ค่าวัสดุท่อน้ำ ไม่ใช่เรื่องที่ควรประหยัด
ปัจจุบัน มีน้ำยาประสานท่อ มาแทนกาว ผมก้ไม่รู้ว่ามันดีไหม เขาโฆษณาว่า หมดปัญหาเรื่องน้ำรั่วซึม ว่างั้น

บ้านโมเดิร์นริมทะเล


บ้านโมเดิร์นริมทะเล ใช้หลังคาที่ทำด้วยคอนกรีต ซึ่งมีความหนาเป็นพิเศษ คงเป็นเพราะทะเลมีเกลืออยู่มาก ซึ่งทำลายคอนกรีตได้ดี

บ้าน 3 ชั้น ทรงแปลกหูแปลกตา














การซึมผ่านน้ำในคอนกรีตที่ผสมเถ้าลอย

      จากการทดลองใช้เถ้าลอยมาผสมกับคอนกรีต โดยใช้ปริมาณเถ้าลอยที่แตกต่างกัน คือ 0%, 15%, 25%, 35% และ 50%  จากผลการทดลอง พบว่า ยิ่งปสมเถ้าลอยมากขึ้น การซึมของน้ำก็มีค่าลดลง

ความสัมพันธ์ระกว่างการซึมผ่านของน้ำและค่า W/B ratio

      ผลการทดลองนี้ ไม่มีอะไรน่าตกใจ เพราะว่า ยิ่งเพิ่มเถ้าลอยมาก ก็เหมือนกับว่าเถ้าลอยไปอุดรูได้มาก จึงทำให้น้ำซึมผ่านได้ยาก

      ผลที่ตามมาของคอนกรีตที่น้ำซึมผ่านยาก คือ มันจะสามารถทนต่อสารเคมีต่างๆได้มากขึ้น

การบ่มจีโอโพลิเมอร์ ,ช่วงเวลาบ่ม , อุณหภูมิในการบ่ม

เถ้าลอยที่นำมาศึกษาหาเวลาและอุณหภูมิการบ่มที่เหมาะสม จะมีอยู่ 3 แบบ คือ
  1. เถ้าลอยดั่งเดิม (Original Fly Ash, OFA)
  2. เถ้าลอยละเอียด (Fine Fly Ash, 40FA)
  3. เถ้าลอยละเอียดมาก (Very Fine Fly Ash, 10FA)

จะทำการบ่มในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน คือ 30, 45, 60, 75 และ 90 องศา จากผลการทดสอบ พบว่า การใช้อุณหภูมิ 75 องศา จีโอโพลิเมอร์ให้กำลังอัดมากที่สุด ดังกราฟที่ 1

กราฟที่ 1 กราฟความสัมพันระหว่างการรับกำลังอัดและอุณหภูมิการบ่ม
ใช้เวลาบ่มที่แตกต่างกัน คือ 1, 2, 3, 4 และ 5 วัน จากการทดสอบ พบว่า การบ่มเป็นเวลา 3 วัน จีโอโพลิเมอร์จะมีความแข็งแรงที่สุด ดังกราฟที่ 2

กราฟที่ 2 กราฟระหว่างกำลังและเวลาในการบ่ม
สรุป การบ่มจีโอโพลิเมอร์ด้วยอุณหภูมิ 75 อุงศา และบ่มเป็นเวลา 3 วัน จะได้จีโอโพลิเมอร์ที่ให้กำลังอัดที่ดีที่สุด

ระหว่าง NaOH กับ KOH ในการทำจีโอโพลิเมอร์

จากการทดลอง สรุปได้ว่า KOH ให้กำลังสูงกว่าเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม KOH มีราคาแพงกว่า จึงควรใช้ NaOH น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

เป็นตาราง ที่เอามาจากหนังสือ การประชุมวิชาการ คอนกรีตและจีโอโพลิเมอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 2
ระหว่าง เถ้าลอย กับ ไดอะตอมไมท์

      อนุภาคของวัสดุทั้งสองนี้มีความแตกต่างกันอย่างมาก เถ้าลอยมีลักษณะกลมๆ ส่วนไดอะตอมไมท์เป็นรูปทรงกระบอก และมีผนังคล้ายรังผึ้ง ดังรูปด้านล่าง

ภาพถ่าย SEM ของเถ้าลอย 
ภาพถ่าย SEM ของไดอะตอมไมท์
ไดอะตอมไมท์มีองค์ประกอบหลักเหมือนเถ้าลอย มีค่าความถ่วงจำเพาะน้อยกว่า ซึ่งไดอะตอมไมท์นี้ จัดเป็นวัสดุปอซโซลานธรรมชาติ ตามมาตรฐาน ASTM C618

สระว่ายน้ำที่มีความลึกมากที่สุดในโลก

สระว่ายน้ำที่มีความลึกมากที่สุดในโลก

เป็นสระว่ายน้ำที่มีความลึกมากที่สุดในโลก สระนี้ลึก 40 เมตร ซึ่งไม่เหมาะกับคนที่ขี้กลัว

สระว่ายน้ำแห่งนี้ มีน้ำบรรจุอยู่ราวๆ 4300 ลบ.ม. หรือประมาณ 4.3 ล้านลิตร

สระว่ายน้ำแห่งนี้ เป็นทรงกระบอก ออกแบบโดยสถาปนิกที่มีชื่อเสียง Emanuele Boaretto เขาออกแบบให้น้ำมีอุณหภูมิ 32 องศา ซึ่งอุณหภูมินี้ ผู้ว่ายน้ำจะไม่ต้องใส่ชุดดำน้ำ

คุณสมบัติของ จีโอโพลิเมอร์

ในการศึกษาคุณสมบัติ จะประกอบไปด้วย
  • กำลังรับแรงอัด
  • การคืบและการหดตัว
  • การต้านทานซัลเฟต
  • การต้านทานกรด


กำลังรับแรงอัด (Compressicve Strength)

      จีโอโพลิเมอร์จะมีกำลังรับแรงอัดได้มากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนผสมและการบ่ม จีโอโพลิเมอร์ที่ทำมาจากเถ้าถ่านหิน สามารถรับกำลังอัดได้ถึง 600 ksc (กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร)

      จีโอโพลิเมอร์มอร์ต้า สามารถแข็งตัวและให้กำลังอัดถึง 200 ksc ในเวลาเพียง 4 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 20 องศา และมีกำลังอัด 600 kcs ในเวลา 28 วัน

การคืบและการหดตัว (Creep and Shrinkage)

      ปัจจัยที่มีผลต่อการคืบของจีโอโพลิเมอร์มีหลายอย่าง เช่น ส่วนผสมของจีโอโพลิเมอร์ ความเค้น มวลรวม ความชื้น .... จากผลการทดลอง พบว่า การคืบของจีโอโพลิเมอร์มีค่าน้อยกว่าคอนกรีตทั่วไป

     การหดตัวแห้ง ซึ่งเกิดจากน้ำในจีโอโพลิเมอร์ระเหตออกไป ทำให้จีโอโพลิเมอร์เกิดรอยแตกร้าว และเกิดการบิดตัว ผลการทดสอบพบว่า จีโอโพลิเมอร์หดตัวน้อยมากหลังจากระยะเวลาผ่านไป 1 ปี (ค่าการหดตัว ราวๆ 0.0001 เมตรต่อความยาว 1 เมตร)

การต้านทานซัลเฟต (Sulfate Resistance)

     ความเสียหายที่เกิดจากซัลเฟตเป็นสิ่งสำคัญ เพราะ ซัลเฟสมีอยู่ทั่วไป เช่น ในน้ำทะเล ในดิน ซัลเฟตอาจเกิดจากสารอินทรีย์ที่เน่า ซึ่งอาจก่อให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ และเมื่อทำปฏิกิริยากับอากาศ จะได้เป็นกรดกำมะถัน และจะแปลสภาพเป็นซัลเฟตในที่สุด
     จากการทดลองแช่จีโอโพลิเมอร์ไว้ในซัลเฟตเป็นเวลา 1 ปี พบว่า เกิดการขยายตัว ราวๆ 5 เปอร์เซ็น ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นผลมาจากซัลเฟต และการขยายตัวนี้ มีค่าน้อยกว่าคอนกรีตทั่วไป (จีโอโพลิเมอร์ต้านทานซัลเฟตได้มากกว่าคอนกรีตทั่วไป)

การต้านทานกรด (Acid Resistance)

     โดยทั่วไป คอนกรีตสามารถต้านทานกรดได้ไม่ดีนัก วิธีการทดสอบ คือ นำเอาตัวอย่างคอนกรีต และตัวอย่างจีโอโพลิเมอร์ไปแช่ในน้ำกรดซัลฟูริก เป็นเวลา 1 ปี พบว่า จีโอโพลิเมอร์เปลี่ยนแปลงขนาดน้อยกว่า (มันต้านทานได้ดีกว่า)
     อย่างไรก็ตาม มันมีผลการทดลองมากกว่านี้ แต่ว่าไม่ได้เขียน

บ้านหิน ใน Iran ที่มีอายุกว่า 700 ปี


เป็นบ้านที่ทำด้วยหิน มีอายุกว่า 700 ปีเลยทีเดียว บ้านหิน คงขยายตัวบ้านไม่ได้ คงต่อเติมไม่ได้

สะพานแขวนสำหรับเดินเท้ายาวที่สุดในโลก

สะพานแขวนสำหรับเดินเท้ายาวที่สุดในโลก 

      สะพานแขวนใช้สำหรับเดินเท้าที่ยาวที่สุดในโลกนี้ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติโซชิ ประเทศรัสเซีย มันมีความยาวถึง 1,800 ฟุต ตั้งอยู่เหนือพื้นดิน 650 ฟุต เบื้องล่างสะพานเป็นแม่น้ำที่ล้อมรอบไปด้วยภูเขา นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมกระโดดบันจีจัมพ์ไว้ให้นักท่องเที่ยวให้ทดสอบความกล้าหาญอีกด้วย (Photo:George Malets)

การเกิดสนิมของเหล็ก (ที่อยู่ในคอนกรีต)

การเกิดสนิม
        การเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีตนั้น มีสาเหตุหลักของการเกิดสนิมคือ การเกิดรอยแตกร้าวของโครงสร้าง รอยแตกร้าวดังกล่าว อาจเกิดจากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน สภาวะแวดล้อมรุนแรง หรือเกิดจากการใช้งาน เป็นต้น โดยปกติน้ำจะซึมผ่านคอนกรีตได้เล็กน้อย ขึ้นอยู่กับความทึบของเนื้อคอนกรีต แต่การแตกร้าวในโครงสร้าง จะทำให้น้ำและออกซิเจนเข้าไปถึงเหล็กเสริมได้เร็วยิ่งขึ้น อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีต คือ การสูญเสียสภาพการเป็นด่าง (Depassivation) เนื่องจากสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศและการซึมผ่านของคลอไรด์อิออนในสารละลาย เข้าสู่ช่องว่างในคอนกรีต จะทำให้ความเป็นด่างของคอนกรีตมีค่าลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดสนิมของเหล็กเสริมคอนกรีตได้
       คลอไรด์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการกัดกร่อนของเหล็กเสริม โดยการกัดกร่อนจะเริ่มขึ้นเมื่อคลอไรด์อิออนมี ความเข้มข้นมากพอ ซึ่งจะทำให้ค่า pH ลดลงจนถึงระดับวิกฤต ทำให้สภาพการเป็นด่างของคอนกรีตที่ป้องกันการเกิดสนิมของเหล็กเสริมถูกทำลาย ถ้ามีน้ำและออกซิเจนเพียงพอ ก็จะทำให้เหล็กเสริมเกิดสนิมได้

ปัจจัยการเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีต
  1. ความเป็นด่างในคอนกรีตลดลงจนปฏิกิริยาอะโนดิค สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งระดับความเป็นด่างที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาอะโนดิค จะมีค่าของ pH ต่ำกว่าระดับ 9 ถึง 10 และมักจะเรียกว่า ระดับวิกฤต (Critical level) ของความเป็นด่าง
  2. มีความชื้นเพียงพอที่ทำให้อิออนของเหล็ก เข้าสู่สภาวะสารละลาย และเพียงพอที่จะทำให้ เกิดปฏิกิริยาในการเกิดสนิม ซึ่งโดยปกติ ความชื้นที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ผิวของเหล็กเสริมมีเพียงพออยู่แล้ว
  3. มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอต่อการทำปฏิกิริยาการเกิดสนิม โดยทั่วไป คอนกรีตจะมีช่องว่างซึ่ง ออกซิเจนสามารถแพร่เข้าไปในเนื้อคอนกรีตได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับความทึบของเนื้อคอนกรีต
กลไกการเกิดสนิม
       กลไกการเกิดสนิมของเหล็กเสริมในคอนกรีต ดังรูปที่ 3.4 จะเริ่มจากความเป็นด่างของคอนกรีตบริเวณรอบๆเหล็กเสริมมีค่าลดลงจนถึงระดับวิกฤต มีความชื้นและมีออกซิเจนเพียงพอต่อการเกิดปฏิกิริยา Electrolysis ดังสมการที่ 3.4

Fe ---> Fe2+ + 2e-         (3.4)

       จากสมการที่ 3.4 เหล็กจะแตกตัวเป็นอิออน (Fe2+) และอิเล็กตรอนจะวิ่งไปตามเหล็ก ปฏิกิริยานี้เรียกว่า กระบวนการอะโนดิค (Anodic process) จากนั้น 2e- ที่เกิดจากปฏิกิริยาอะโนดิคจะไปรวมตัวกับน้ำและออกซิเจน ทำให้เกิดเป็นไฮดรอกซิลอิออน ((OH)-) ดังสมการที่ 3.5

4e- + O2 + 2H2O  ---> 4(OH)- (3.5)

       ปฏิกิริยาที่ 3.5 นี้เรียกว่า กระบวนการคะโธดิค (Cathodic process) จากนั้น จะเกิดปฏิกิริยาการเกิดสนิมขึ้น ดังสมการที่ 3.6

4Fe2+ + 6(OH)- + 3O2 --->  2Fe2O3 + 3H2O (3.6)

       โดยที่ Fe2O3 คือ เฟอริกออกไซด์ หรือสนิมที่เกิดขึ้นกับเหล็กเสริมในคอนกรีต


รูปที่ 1 การเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีต

--------------------------------------------------------------
รูปงานก่อสร้างที่เหล็กเสริมมีโอกาสเกิดสนิมสูง

การก่อสร้างที่ดี ลดการเกิดสนิมได้เยอะ 
รุปที่ 2 การก่อสร้างที่คุณภาพต่ำ
(จะบอกว่าไม่ได้คุณภาพก็เกรงใจคนสร้าง เอารูปเขามา)
รูปที่ 3 คอนกรีตไม่หุ้มเหล็กเสริม