ในการศึกษาคุณสมบัติ จะประกอบไปด้วย
- กำลังรับแรงอัด
- การคืบและการหดตัว
- การต้านทานซัลเฟต
- การต้านทานกรด
กำลังรับแรงอัด (Compressicve Strength)
จีโอโพลิเมอร์จะมีกำลังรับแรงอัดได้มากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนผสมและการบ่ม จีโอโพลิเมอร์ที่ทำมาจากเถ้าถ่านหิน สามารถรับกำลังอัดได้ถึง 600 ksc (กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร)
จีโอโพลิเมอร์มอร์ต้า สามารถแข็งตัวและให้กำลังอัดถึง 200 ksc ในเวลาเพียง 4 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 20 องศา และมีกำลังอัด 600 kcs ในเวลา 28 วัน
การคืบและการหดตัว (Creep and Shrinkage)
ปัจจัยที่มีผลต่อการคืบของจีโอโพลิเมอร์มีหลายอย่าง เช่น ส่วนผสมของจีโอโพลิเมอร์ ความเค้น มวลรวม ความชื้น .... จากผลการทดลอง พบว่า การคืบของจีโอโพลิเมอร์มีค่าน้อยกว่าคอนกรีตทั่วไป
การหดตัวแห้ง ซึ่งเกิดจากน้ำในจีโอโพลิเมอร์ระเหตออกไป ทำให้จีโอโพลิเมอร์เกิดรอยแตกร้าว และเกิดการบิดตัว ผลการทดสอบพบว่า จีโอโพลิเมอร์หดตัวน้อยมากหลังจากระยะเวลาผ่านไป 1 ปี (ค่าการหดตัว ราวๆ 0.0001 เมตรต่อความยาว 1 เมตร)
การต้านทานซัลเฟต (Sulfate Resistance)
ความเสียหายที่เกิดจากซัลเฟตเป็นสิ่งสำคัญ เพราะ ซัลเฟสมีอยู่ทั่วไป เช่น ในน้ำทะเล ในดิน ซัลเฟตอาจเกิดจากสารอินทรีย์ที่เน่า ซึ่งอาจก่อให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ และเมื่อทำปฏิกิริยากับอากาศ จะได้เป็นกรดกำมะถัน และจะแปลสภาพเป็นซัลเฟตในที่สุด
จากการทดลองแช่จีโอโพลิเมอร์ไว้ในซัลเฟตเป็นเวลา 1 ปี พบว่า เกิดการขยายตัว ราวๆ 5 เปอร์เซ็น ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นผลมาจากซัลเฟต และการขยายตัวนี้ มีค่าน้อยกว่าคอนกรีตทั่วไป (จีโอโพลิเมอร์ต้านทานซัลเฟตได้มากกว่าคอนกรีตทั่วไป)
การต้านทานกรด (Acid Resistance)
โดยทั่วไป คอนกรีตสามารถต้านทานกรดได้ไม่ดีนัก วิธีการทดสอบ คือ นำเอาตัวอย่างคอนกรีต และตัวอย่างจีโอโพลิเมอร์ไปแช่ในน้ำกรดซัลฟูริก เป็นเวลา 1 ปี พบว่า จีโอโพลิเมอร์เปลี่ยนแปลงขนาดน้อยกว่า (มันต้านทานได้ดีกว่า)
อย่างไรก็ตาม มันมีผลการทดลองมากกว่านี้ แต่ว่าไม่ได้เขียน
อย่างไรก็ตาม มันมีผลการทดลองมากกว่านี้ แต่ว่าไม่ได้เขียน