บ้านสีขาวบนตีนเขา | House on a Castle Mountainside

สถาปนิกผู้ออกแบบ : Fran Silvestre, Ma Josรฉ Sรกez/Fran Silvestre Arquitectos
สถานที่ตั้งของบ้าน : Ayora, Spain
ถ่ายภาพโดย : Fernando Alda

บ้านหลังนี้ตั้งอยู่บนหน้าผาที่ไม่ชันนัก สถาปนิกผู้ออกแบบมีแนวคิดที่จะทำให้บ้านหลังนี้โดดเด่นโดยใช้สีขาวเพื่อตัดกับสีของโขดหินที่อยู่ด้านหลังบ้าน ทำให้บ้านดูโดดเด่นขึ้นมา





ลักษณะบ้านอาจดูเหมือนตัวบ้านมีลักษณะเป็นลิ่มทิ่มเข้าไปในภูเขา แต่ภายในถูกออกแบบเป็นห้องทรงสีเหลี่ยมเหมือนบ้านทั่วไป





ห้องครัว เน้นการออกแบบแบบเรียบง่าย เช่น ที่วางเครื่องเทศที่เป็นทรงสี่เหลี่ยม หรือช่องเว้าทรงสี่เหลี่ยม


ห้องน้ำขนาดเล็กจะดูเหมือนมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเดินผ่านทางแคบ ๆ และใช้เทคนิคของแสงในการช่วยให้รู้สึกว่าอยู่ในห้องน้ำขยาดใหญ่



Reference


บ้านขนาดเล็ก กลางทะเลทราย | Uluru Desert Tent Home


This file was published by Ata Tara on 3D Warehouse

มันคือที่พักที่สร้างขึ้นในอุทยานแห่งชาติ Uluru-Kata Tjuta (ประเทศออสเตรเลีย) มันเป็นที่พักอาศัยสำหรับผู้ที่เข้าไปทำการศึกษาในอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ ที่พักนี้ออกแบบให้สามารถพักได้เพียง 1 คนเท่านั้น

บ้านพักหลังนี้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อสภาพภูมิอากาศแถวนั้น คือเป็นทะเลทรายที่มีความแห้งแล้ง โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นไม้ และยังมีหลังคาเสริมเพื่อลดและป้องกันความร้อนจากดวงอาทิตย์อีกด้วย รูปทรงของตัวบ้านถูกออกแบบให้รองรับลมที่มาจากทุกทิศทาง และวัสดุที่ใช้ก็สามารถหาได้ง่าย






Jim's SF House


This file was published by ... on 3D Warehouse

ออกแบบเอาฮารึปล่าว... จำได้คร่าว ๆ ว่ามันเป็นการแข่งขันการออกแบบโครงสร้างโดยใช้ SketchUP





การก่อกำแพง ในงานก่อสร้าง | Construction of Wall Houses

ขนาดมาตรฐานของอิฐมอญ(สีส้ม-แดง) และอิฐบล๊อก(สีปูน)

*อิฐมีหลายขนาด ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ไม่จำเป็นต้องใช้ขนาดตามมาตรฐาน
  • อิฐบล๊อก(block) มีขนาด 440 x 215 x 100 มม
  • อิฐมอญ(brick) มีขนาด 215 x 102.5 x 65 มม
ขนาดมาตรฐานของอิฐมอญและอิฐบล๊อก
(Marshall D., et al.)
ต้องใช้อิฐมอญจำนวน 6 ก้อนเพื่อก่อให้ได้ขนาดเท่าอิฐบล๊อก 1 ก้อน โดยแต่ละก้อนจะวางห่างกัน 1 เซนติเมตรซึ่งเป็นปูนก่อ


ปูนก่อกำแพง (Mortar)

ในงานก่อสร้างมักพบปูน 2 ชนิด คือ ปูนโครงสร้าง--ส่วนใหญ่มีถุงสีแดง และปูนก่อฉาบ--ส่วนใหญ่เป็นถุงสีเขียว เป็นปูนที่ใช้ก่อโดยเฉพาะ มีราคาถูกกว่าปูนโครงสร้าง

ปูนสำหรับงานโครงสร้างหลัก
ปูนสำหรับก่อ ฉาบ
ปูนก่อ-ฉาบ ทำหน้าที่ยึดเกาะอิฐแต่ละก้อนไว้ด้วยกัน และช่วยในการกระจายแรง คุณสมบัติที่ดีของปูนก่อคือ
  • ไหลลื่น
  • มีความยืดหยุ่นสูง
  • มีแรงยึดเหนี่ยวเพียงพอ
  • ป้องกันการซึมของน้ำ
ปูนก่อฉาบทำมาจากผงปูนซีเมนต์ผสมกับทรายละเอียดและน้ำสะอาด ในปัจจุบันอาจมีการพัฒนาคุณสมบัติอื่น ๆ เพิ่มเติม



สารผสมเพิ่ม

อาจใช้สารเคมีผสมลงในปูนก่อ-ฉาบ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ต้องการ เช่น ให้ปูนไหลลื่นดีขึ้น (ในประเทศไทยยังไม่ค่อยนิยม)


วิธีการผสมปูนก่อฉาบ

วัสดุที่ใช้คือ ปูน ปูนขาว ทรายและน้ำ แต่ในงานก่อสร้างที่ไม่ละเอียดมากมักจะไม่ใช้ปูนขาว ในปัจจุบันมีปูนสำหรับก่อ-ฉาบโดยเฉพาะ ใช้งานง่าย สะดวกสบาย เพียงแค่นำผงปูนก่อฉาบมาผสมกับน้ำ

อัตราส่วนผสมของปูนก่อและทราย
การเตรียมอิฐสำหรับงานก่อ

ในเบื้องต้นควรตรวจดูอิฐเสียก่อนว่าอิฐที่นำมาใช้นั้นผ่านการเผามาดีหรือไม่ หากอิฐดังกล่าวเผามาไม่ดีจะทำให้อิฐนั้นไม่แข็งแรงและเกิดปัญหาตามมาในภายหลัง เมื่อตรวจเรียบร้อยแล้วก็ทำการล้างอิฐเหล่านั้นให้สะอาดปราศจากฝุ่น อิฐที่สกปรกจะทำให้ปูนฉาบยึดเกาะกับอิฐได้ไม่ดี นอกจากนี้ยังต้องแช่อิฐไว้ในน้ำ ให้อิฐได้ดูดน้ำให้เต็มที่ก่อนนำมาใช้


การก่ออิฐ

เป็นทักษะ้ฉพาะตัวที่ต้องฝึกฝนจนชำนาญจึงจะสามารถก่อกำแพงให้สวยงามได้ ให้ความหนาของปูนก่ออยู่ระหว่าง 1.5 - 2 เซนติเมตร
รูปแบบการต่ออิฐ
(Marshall D., et al.)
รูปแบบการต่ออิฐนั้นทำได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบหรือเจ้าของงานว่าต้องการแบบไหน ภาพด้านบนเป็นภาพการต่อที่มักพบมากที่สุดในงานก่อสร้าง การทำรูปแบบต่าง ๆ นั้น ช่างจะใช้เทคนิคช่วยในการทำร่อง

รูปแบบ Flush เป็นการปาดหน้าปูนฉาบให้เรียบเสมออิฐ และสำหรับรูปแบบอื่น ๆ จะเป็นการเซาะร่องเล็กน้อย สำหรับรูปแบบ Recessed นั้นจะไม่เหมาะกับงานภายนอกอาคารเนื่องจากมันจะสะสมน้ำ แล้วทำให้เกิดเชื้อรา

ตัวอย่างการต่ออิฐ
(Marshall D., et al.)
การก่ออิฐโดยไม่ฉาบนั้นต้องใช้ฝีมือเพื่อให้งานออกมาดูเรียบร้อย มันจึงเกิดเป็นอาชีพใหม่ได้ มันประหยัดค่าฉาบได้ อย่างไรก็ตามการใช้ส่วนผสมของปูนก่อที่ให้ความแข็งแรงไม่เพียงพอจะทำให้ผนังหรือกำแพงแตกร้าวได้


การเรียงอิฐก่อ

ในบางกรณีที่เจ้าของงานต้องการความสวยงามของผนังอาคารเพียงอย่างเดียว-ไม่ได้ต้องการให้ผนังรับน้ำหนักใด ๆ แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมคือน้ำหนักของผนังเองและน้ำหนักของแรงลม ดังนั้นหากเจ้าของงานยืนยันจะก่อสร้างผนังแบบที่รับแรงได้น้อย ก็ต้องหาวิธีอื่นเพื่อเสริมกำลัง
การก่อกำแพงที่ไม่ถูกหลักการ
(Marshall D., et al.)
ภาพด้านบนเป็นภาพการก่ออิฐที่ไม่ถูกหลักการทางด้านวิศวกร กำลังยึดเหนี่ยวของอิฐแต่ละก้อนมีค่าน้อย กำแพงที่ได้นั้นจะไม่แข็งแรงเท่าที่ควร
การก่ออิฐที่สมเหตุสมผล
(Marshall D., et al.)
ภาพด้านบนนี้เป็นการเรียงอิฐที่ให้ความแข็งแรงได้มากที่สุด นอกจากนี้ การใช้ปูนก่อที่แข็งแรงก็ย่อมช่วยให้กำแพงแข็งแรงขึ้นได้


Reference

Marshall D., Worthing D, Dann N. and Heath R. (2013). The Construction of Houses. (พิมพ์ครั้งที่ 5). New York: Routledge.

แนะนำฐานรากในงานก่อสร้าง | Introduce to Foundation

ประเภทของฐานราก (Foundation Types)


ประเภทของฐานราก
(Marshall D., et al.)
ฐานรากแถบ (Strip foundation)
แถบของฐานรากจะอยู่ใต้ผนังคอนกรีต ความกว้างและความลึกของฐานรากขึ้นอยู่กับบ้านหรืออาคารและลักษณะของดิน

ฐานรากเสาเข็ม (Pile foundation)
เนื่องจากเป็นดินอ่อน น้ำหนักของอาคารจึงถูกส่งผ่านน้ำหนักไปที่ดินระดับลึกโดยเสาเข็ม ฐานรากประเภทนี้จะรับน้ำหนักได้มากกว่าฐานรากอื่น ๆ

ฐานรากแพ (Raft foundation)
คอนกรีตแพจะแผร่กระจายออกทั่วพื้นที่


การทำฐานรากแถบ


การขุดร่องเพื่อทำฐานรากแถบ
(Strip foundation)
โดยทั่วไปดินจะรับน้ำหนัก"บ้านสองชั้น"หรือ"บ้านสามชั้น"ได้โดยใช้ฐานรากแผ่แบบธรรมดา ความกว้างของฐานรากแถบขึ้นอยู่กับชนิดของดิน สำหรับบ้าน 2 ชั้น ต้องการความกว้างต่ำสุด 40-50 เซนติเมตร แต่ในทางปฏิบัติมักใช้ฐานรากขนาด 1 เมตร

ปัจจุบันการขุดฐานรากสามารถทำได้โดยเครื่องจักรที่ทันสมัย หากขุดดินลึกก็ควรหาวิธีกันดินไถลลงหลุม

การขุดร่องเพื่อทำฐานรากแถบ
(Strip foundation)

















ขนาดของฐานราก
(Marshall D., et al.)
หากตีนของฐานรากมีความกว้างและบางมากเกินไปจะทำให้ตีนฐานรากแตกได้ ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ "Punching Shear" ซึ่งหมายถึง"การเฉือนแบบทะลุ"

ฐานรากที่มีขนาดที่เหมาะสมจะเป็นดังภาพตรงกลาง

สำหรับภาพฐานรากที่อยู่ด้านขวามือ เป็นฐานรากที่เสริมเหล็กเข้าไปเพื่อให้ฐานรากสามารถแผ่ออกได้กว้างขึ้นและจะรับน้ำหนักได้มากขึ้น


ฐานรากบนพื้นที่เอียง

ในบางบริเวณที่มีพื้นที่เอียง เช่น บนภูเขา การทำฐานรากนั้นอาจมีค่าใช้จ่ายสูงเนื่องจากต้องขุดดินออกในปริมาณมากเพื่อให้พื้นมีระดับที่เท่ากัน สำหรับปัญหานี้สามารถเลี่ยงได้โดยทำฐานรากเป็นขั้นบันได แต่ควรให้แน่ใจว่าฐานรากจะส่งถ่ายน้ำหนักลงสู่พื้นดินได้สมบูรณ์เพื่อป้องกันการแตกร้าวของตัวบ้าน
ฐานรากในบริเวณที่มีความลาดเอียง
(Marshall D., et al.)

ฐานรากเสาเข็ม (Pile foundation)
หลายกรณีที่งานก่อสร้างไม่สามารถใช้ฐานรากแผ่หรือฐานรากแถบได้ อาจเป็นเพราะมีดินที่ไม่เหมาะสมหรือความจำเป็นอื่น ๆ เช่น ไม่ต้องการตัดต้นไม้เพื่อทำฐานรากแผ่นใหญ่ ๆ หรืออาการที่จะสร้างมีน้ำหนักมาก ดังนั้นการเลือกใช้ฐานรากแบบเสาเข็มจึงเป็นทางออกที่ดี

ในการตอกเสาเข็ม ต้องตอกลงไปให้ถึงชั้นดินที่กำหนดโดยวิศวกร หรืออาจหยุดตอกได้หากจำนวนครั้งที่ตกได้ตามมาตรฐานแล้ว ในบางกรณีก็ไม่สามารถใช้วิธีตอกเสาเข็มได้ เช่น บริเวณรอบ ๆ ข้างของงานก่อสร้างเต็มไปด้วยบ้านเรือน ซึ่งการตอกเสาเข็มอาจเป็นอันตรายต่อบ้านข้างเคียง จึงอาจใช้วิธีอื่น ๆ เช่น การเจาะ
ภาพแสดงการเจาะดินเพื่อทำเสาเข็ม
(Marshall D., et al.)
จากภาพด้านบนเป็นการเจาะดิน มีลำดับขึ้นตอนคร่าว ๆ ดังต่อไปนี้
  • ตั้งแท่นเจาะให้อยู่ในแนวดิ่ง และให้สว่างเจาะตรงกับจุดที่ต้องการเจาะ
  • เจาะ
  • นำสว่างเจาะออก
  • ใส่เหล็กเสริมคอนกรีต แล้วทำการเทคอนกรีต



Reference

Marshall D, Worthing D, Dann N. and Heath R. (2013). The Construction of Houses. (พิมพ์ครั้งที่ 5). New York: Routledge.

สร้างบ้านใกล้ต้นไม้ใหญ่ | Building Near Trees

ส่วนใหญ่ของดินเหนียวเดิม* เป็นสาเหตุสำคัญที่จะก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับฐานราก มันจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงปริมาตรเนื่องจากการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของความชื้นในดิน ซึ่งความชื้นในดินนี้ก็ขึ้นอยู่กับฤดูกาลต่าง ๆ โดยที่ดินจะขยายตัวมากที่สุดในฤดูหนาวและหดตัวมากที่สุดในฤดูร้อน การเปลี่ยนแปลงนี้โดยปกติจะทำให้ระดับของดินเปลี่ยนแปลงมากถึง 30 มม.

ดินที่เปลี่ยนแปลงปริมาตรส่วนใหญ่จะอยู่ลึกไม่เกิน 1 เมตร เนื่องจากดินที่อยู่ลึกกว่า 1 เมตรนั้นมักจะอิ่มตัวด้วยน้ำ (มีน้ำบาดาน)

หากดินเหนียวเดิมมีต้นไม้ใหญ่เจริญเติบโตอยู่ ปัญหานี้ก็จะยิ่งรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะต้นไม้ใหญ่ที่มีลักษณะเป็นพุ่มขนาดใหญ่ยิ่งต้องการความชื้นในปริมาณมากในการใช้หล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของลำต้นและใบ ยกตัวอย่างเช่น ต้นไม้ Populus ที่โตเต็มที่ มันจะดูดน้ำมากถึง 1,000 ลิตรต่อสัปดาห์ แม้ว่าในฤดูร้อนต้นไม้ยังคงดูดน้ำอย่างต่อเนื่อง รากของต้นไม้จะดึงความชื้นออกจากดิน ทำให้เกิดปัญหาดินหดตัว

ยิ่งกว่านั้น ต้นไม้ใหญ่ที่เป็นกลุ่ม ยิ่งทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวมากยิ่งขึ้น

*เป็นดินเหนียวที่มีอยู่เดิมก่อนที่จะถม

ภาพแสดงการทรุดตัวเมื่อสร้างบ้านใกล้ต้นไม้ใหญ่
(Marshall D., et al.)
เมื่อสร้างบ้านใกล้ ๆ กับต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ จำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าห่างจากต้นไม้มากพอ เนื่องจากรากต้นไม้ขนาดใหญ่มักจะดูดความชื้นในดินเหนียว ทำให้ดินเหนียวหดตัวจนนำไปสู่การทรุดตัวของบ้าน


ภาพแสดงการทรุดตัวเนื่องจากต้นไม้ใหญ่ถูกตัด
(Marshall D., et al.)
ต้นไม้ขนาดใหญ่มักจะดูดความชื้นในดินมาเป็นเวลานาน เมื่อเราทำการตัดต้นไม้ลง ดินจะเพิ่มความชื้นอย่างช้า ๆ เนื่องจากไม่มีต้นไม้คอยดูดความชื้น ความชื้นดังกล่าวอาจมากพอที่จะทำให้ดินขยายตัว การขยายตัวดังกล่าวจะดันบ้านบางส่วนขึ้นจนอาจเกิดความเสียหายแก่ตัวบ้านได้

ปัญหาทั้ง 2 กรณีข้างต้นจะเกิดกับดินเหนียว ไม่เกิดกับดินทราย


ภาพแสดงข้อแนะนำในการปลูกบ้าน
(Marshall D., et al.)
ข้อแนะนำสำหรับต้นไม้ทั่วไป คือ ให้ระยะห่างระหว่างบ้านและต้นไม้เท่ากับความสูงของต้นไม้ และใช้ฐานรากที่ลึก 1.0 เมตร


Reference

Marshall D, Worthing D, Dann N. and Heath R. (2013). The Construction of Houses. (พิมพ์ครั้งที่ 5). New York: Routledge.

แบบบ้านทรงกล่อง (ทรงสี่เหลี่ยม) | Design your Dwelling 2008


This file was published by Toan on 3D Warehouse

บ้านริมทะเล
หนึ่งในเป้าหมายในการออกแบบบ้านคือ จะใช้สถานที่ร่วมกันโดยไม่ทำให้เสียวิวทิวทัศน์ บ้านหลังนี้มีขนาด 6x15 เมตร มันเป็นบ้าน 2 ชั้นพร้อมสวนบนชั้นดาดฟ้า มีพื้นที่ภายในรวมราว ๆ 160 ตารางเมตร ตัวบันไดจะถูกแยกออกมาจากห้องเพื่อรักษาพลังงาน ตัวบ้านใช้เป็นผนังกระจกเพื่อสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ภายนอกได้อย่างชัดเจน พลังงานที่ใช้ภายในบ้านล้วนมาจากแผงโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งอยู่ด้านบนของตัวบ้าน แผงโซล่าเซลล์ถูกจัดวางไว้ในแนวตะวันออก-ตก เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากจะให้พลังงานแล้ว แผงโซล่าเซลล์ยังทำหน้าที่บังแดดได้อีกด้วย






แบบบ้านชั้นเดียวสำหรับบนชายหาด | Beach House, Cove House


This file was published by Kurt M. on 3D Warehouse

บ้านนี้เป็นบ้านชายหาดที่ทันสมัย พร้อมให้วิวภายนอกที่สวยงาม! เติมเต็มด้วยโรงจอดรถและดาดฟ้า ต้นฉบับของไฟล์นี้ถูกออกแบบโดย blockhead แต่ไฟล์ได้รับการเพิ่มเติมโดย Kurt M.





Sunset Signature Townhouse


This file was published by Sean on 3D Warehouse

 Angle view


Front view. 

 Another color
Front view

"Name: Sunset Signature Townhouse Location: Lot 7 Sunset Signature Townhouse Sunset Estate Angeles City, Philippines Area: 600sqm Designed by: Jon Bae and LEEMENS & Company, Inc. Construction: LEEMENS & Company, Inc. 3D Graphic by: LEEMENS & Company, Inc. (Tyler Ho Shin) Property Management: LEEMENS & Company, Inc. One Unit Unit for Rent (March, 2009) One Unit for Sale (March, 2009) Person to contact: Sean J.K. Lee(English), 이주경(Korean), 真城(Japanese), Darwin Canda(Tagalog) Contact: jklee@leemens.com" said by Sean.

A streamlined/Art deco house, 1930s


This file was published by hotrod1 on 3D Warehouse

อลังการศิลป์ หรือ ศิลปะตกแต่ง (อังกฤษ: Art Deco) เป็นขบวนการการออกแบบนานาชาติระหว่าง ค.ศ. 1925 ถึง ค.ศ. 1939 ที่มีผลต่อศิลปะการตกแต่งเช่น สถาปัตยกรรม การออกแบบภายใน และการออกแบบอุตสาหกรรม รวมทั้งทัศนศิลป์เช่นแฟชั่น, จิตรกรรม, เลขนศิลป์ (graphic arts) และภาพยนตร์ ขบวนการนี้เป็นการผสมผสานระหว่างลักษณะศิลปะกับขบวนการหลายแบบในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งได้แก่ลัทธิคลาสสิกใหม่, ลัทธิเค้าโครง (Constructivism), ลัทธิบาศกนิยม, ลัทธิสมัยใหม่, นวศิลป์ และลัทธิอนาคตนิยม[1] อลังการศิลป์นิยมกันอย่างสูงสุดในยุโรปและสหรัฐอเมริกาในสมัยรู้จักกันว่า "Roaring Twenties"[2] และนิยมกันอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาตลอดคริสต์ทศวรรษ 1930[3] แม้ว่าขบวนการออกแบบหลายขบวนการเริ่มจากความคิดทางการเมืองหรือทางปรัชญา แต่อลังการศิลป์มีรากมาจากการตกแต่งเท่านั้น[4] ในขณะนั้นทัศนคติต่ออลังการศิลป์ถือกันว่าเป็นศิลปะของความหรู ความมีประโยชน์ทางการใช้สอย และความเป็นสมัยใหม่



Awesome Garden Villa


This file was published by josh86 on 3D Warehouse







house with courtyard pool and garden