การก่อกำแพง ในงานก่อสร้าง | Construction of Wall Houses

ขนาดมาตรฐานของอิฐมอญ(สีส้ม-แดง) และอิฐบล๊อก(สีปูน)

*อิฐมีหลายขนาด ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ไม่จำเป็นต้องใช้ขนาดตามมาตรฐาน
  • อิฐบล๊อก(block) มีขนาด 440 x 215 x 100 มม
  • อิฐมอญ(brick) มีขนาด 215 x 102.5 x 65 มม
ขนาดมาตรฐานของอิฐมอญและอิฐบล๊อก
(Marshall D., et al.)
ต้องใช้อิฐมอญจำนวน 6 ก้อนเพื่อก่อให้ได้ขนาดเท่าอิฐบล๊อก 1 ก้อน โดยแต่ละก้อนจะวางห่างกัน 1 เซนติเมตรซึ่งเป็นปูนก่อ


ปูนก่อกำแพง (Mortar)

ในงานก่อสร้างมักพบปูน 2 ชนิด คือ ปูนโครงสร้าง--ส่วนใหญ่มีถุงสีแดง และปูนก่อฉาบ--ส่วนใหญ่เป็นถุงสีเขียว เป็นปูนที่ใช้ก่อโดยเฉพาะ มีราคาถูกกว่าปูนโครงสร้าง

ปูนสำหรับงานโครงสร้างหลัก
ปูนสำหรับก่อ ฉาบ
ปูนก่อ-ฉาบ ทำหน้าที่ยึดเกาะอิฐแต่ละก้อนไว้ด้วยกัน และช่วยในการกระจายแรง คุณสมบัติที่ดีของปูนก่อคือ
  • ไหลลื่น
  • มีความยืดหยุ่นสูง
  • มีแรงยึดเหนี่ยวเพียงพอ
  • ป้องกันการซึมของน้ำ
ปูนก่อฉาบทำมาจากผงปูนซีเมนต์ผสมกับทรายละเอียดและน้ำสะอาด ในปัจจุบันอาจมีการพัฒนาคุณสมบัติอื่น ๆ เพิ่มเติม



สารผสมเพิ่ม

อาจใช้สารเคมีผสมลงในปูนก่อ-ฉาบ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ต้องการ เช่น ให้ปูนไหลลื่นดีขึ้น (ในประเทศไทยยังไม่ค่อยนิยม)


วิธีการผสมปูนก่อฉาบ

วัสดุที่ใช้คือ ปูน ปูนขาว ทรายและน้ำ แต่ในงานก่อสร้างที่ไม่ละเอียดมากมักจะไม่ใช้ปูนขาว ในปัจจุบันมีปูนสำหรับก่อ-ฉาบโดยเฉพาะ ใช้งานง่าย สะดวกสบาย เพียงแค่นำผงปูนก่อฉาบมาผสมกับน้ำ

อัตราส่วนผสมของปูนก่อและทราย
การเตรียมอิฐสำหรับงานก่อ

ในเบื้องต้นควรตรวจดูอิฐเสียก่อนว่าอิฐที่นำมาใช้นั้นผ่านการเผามาดีหรือไม่ หากอิฐดังกล่าวเผามาไม่ดีจะทำให้อิฐนั้นไม่แข็งแรงและเกิดปัญหาตามมาในภายหลัง เมื่อตรวจเรียบร้อยแล้วก็ทำการล้างอิฐเหล่านั้นให้สะอาดปราศจากฝุ่น อิฐที่สกปรกจะทำให้ปูนฉาบยึดเกาะกับอิฐได้ไม่ดี นอกจากนี้ยังต้องแช่อิฐไว้ในน้ำ ให้อิฐได้ดูดน้ำให้เต็มที่ก่อนนำมาใช้


การก่ออิฐ

เป็นทักษะ้ฉพาะตัวที่ต้องฝึกฝนจนชำนาญจึงจะสามารถก่อกำแพงให้สวยงามได้ ให้ความหนาของปูนก่ออยู่ระหว่าง 1.5 - 2 เซนติเมตร
รูปแบบการต่ออิฐ
(Marshall D., et al.)
รูปแบบการต่ออิฐนั้นทำได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบหรือเจ้าของงานว่าต้องการแบบไหน ภาพด้านบนเป็นภาพการต่อที่มักพบมากที่สุดในงานก่อสร้าง การทำรูปแบบต่าง ๆ นั้น ช่างจะใช้เทคนิคช่วยในการทำร่อง

รูปแบบ Flush เป็นการปาดหน้าปูนฉาบให้เรียบเสมออิฐ และสำหรับรูปแบบอื่น ๆ จะเป็นการเซาะร่องเล็กน้อย สำหรับรูปแบบ Recessed นั้นจะไม่เหมาะกับงานภายนอกอาคารเนื่องจากมันจะสะสมน้ำ แล้วทำให้เกิดเชื้อรา

ตัวอย่างการต่ออิฐ
(Marshall D., et al.)
การก่ออิฐโดยไม่ฉาบนั้นต้องใช้ฝีมือเพื่อให้งานออกมาดูเรียบร้อย มันจึงเกิดเป็นอาชีพใหม่ได้ มันประหยัดค่าฉาบได้ อย่างไรก็ตามการใช้ส่วนผสมของปูนก่อที่ให้ความแข็งแรงไม่เพียงพอจะทำให้ผนังหรือกำแพงแตกร้าวได้


การเรียงอิฐก่อ

ในบางกรณีที่เจ้าของงานต้องการความสวยงามของผนังอาคารเพียงอย่างเดียว-ไม่ได้ต้องการให้ผนังรับน้ำหนักใด ๆ แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมคือน้ำหนักของผนังเองและน้ำหนักของแรงลม ดังนั้นหากเจ้าของงานยืนยันจะก่อสร้างผนังแบบที่รับแรงได้น้อย ก็ต้องหาวิธีอื่นเพื่อเสริมกำลัง
การก่อกำแพงที่ไม่ถูกหลักการ
(Marshall D., et al.)
ภาพด้านบนเป็นภาพการก่ออิฐที่ไม่ถูกหลักการทางด้านวิศวกร กำลังยึดเหนี่ยวของอิฐแต่ละก้อนมีค่าน้อย กำแพงที่ได้นั้นจะไม่แข็งแรงเท่าที่ควร
การก่ออิฐที่สมเหตุสมผล
(Marshall D., et al.)
ภาพด้านบนนี้เป็นการเรียงอิฐที่ให้ความแข็งแรงได้มากที่สุด นอกจากนี้ การใช้ปูนก่อที่แข็งแรงก็ย่อมช่วยให้กำแพงแข็งแรงขึ้นได้


Reference

Marshall D., Worthing D, Dann N. and Heath R. (2013). The Construction of Houses. (พิมพ์ครั้งที่ 5). New York: Routledge.