แนะนำฐานรากในงานก่อสร้าง | Introduce to Foundation

ประเภทของฐานราก (Foundation Types)


ประเภทของฐานราก
(Marshall D., et al.)
ฐานรากแถบ (Strip foundation)
แถบของฐานรากจะอยู่ใต้ผนังคอนกรีต ความกว้างและความลึกของฐานรากขึ้นอยู่กับบ้านหรืออาคารและลักษณะของดิน

ฐานรากเสาเข็ม (Pile foundation)
เนื่องจากเป็นดินอ่อน น้ำหนักของอาคารจึงถูกส่งผ่านน้ำหนักไปที่ดินระดับลึกโดยเสาเข็ม ฐานรากประเภทนี้จะรับน้ำหนักได้มากกว่าฐานรากอื่น ๆ

ฐานรากแพ (Raft foundation)
คอนกรีตแพจะแผร่กระจายออกทั่วพื้นที่


การทำฐานรากแถบ


การขุดร่องเพื่อทำฐานรากแถบ
(Strip foundation)
โดยทั่วไปดินจะรับน้ำหนัก"บ้านสองชั้น"หรือ"บ้านสามชั้น"ได้โดยใช้ฐานรากแผ่แบบธรรมดา ความกว้างของฐานรากแถบขึ้นอยู่กับชนิดของดิน สำหรับบ้าน 2 ชั้น ต้องการความกว้างต่ำสุด 40-50 เซนติเมตร แต่ในทางปฏิบัติมักใช้ฐานรากขนาด 1 เมตร

ปัจจุบันการขุดฐานรากสามารถทำได้โดยเครื่องจักรที่ทันสมัย หากขุดดินลึกก็ควรหาวิธีกันดินไถลลงหลุม

การขุดร่องเพื่อทำฐานรากแถบ
(Strip foundation)

















ขนาดของฐานราก
(Marshall D., et al.)
หากตีนของฐานรากมีความกว้างและบางมากเกินไปจะทำให้ตีนฐานรากแตกได้ ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ "Punching Shear" ซึ่งหมายถึง"การเฉือนแบบทะลุ"

ฐานรากที่มีขนาดที่เหมาะสมจะเป็นดังภาพตรงกลาง

สำหรับภาพฐานรากที่อยู่ด้านขวามือ เป็นฐานรากที่เสริมเหล็กเข้าไปเพื่อให้ฐานรากสามารถแผ่ออกได้กว้างขึ้นและจะรับน้ำหนักได้มากขึ้น


ฐานรากบนพื้นที่เอียง

ในบางบริเวณที่มีพื้นที่เอียง เช่น บนภูเขา การทำฐานรากนั้นอาจมีค่าใช้จ่ายสูงเนื่องจากต้องขุดดินออกในปริมาณมากเพื่อให้พื้นมีระดับที่เท่ากัน สำหรับปัญหานี้สามารถเลี่ยงได้โดยทำฐานรากเป็นขั้นบันได แต่ควรให้แน่ใจว่าฐานรากจะส่งถ่ายน้ำหนักลงสู่พื้นดินได้สมบูรณ์เพื่อป้องกันการแตกร้าวของตัวบ้าน
ฐานรากในบริเวณที่มีความลาดเอียง
(Marshall D., et al.)

ฐานรากเสาเข็ม (Pile foundation)
หลายกรณีที่งานก่อสร้างไม่สามารถใช้ฐานรากแผ่หรือฐานรากแถบได้ อาจเป็นเพราะมีดินที่ไม่เหมาะสมหรือความจำเป็นอื่น ๆ เช่น ไม่ต้องการตัดต้นไม้เพื่อทำฐานรากแผ่นใหญ่ ๆ หรืออาการที่จะสร้างมีน้ำหนักมาก ดังนั้นการเลือกใช้ฐานรากแบบเสาเข็มจึงเป็นทางออกที่ดี

ในการตอกเสาเข็ม ต้องตอกลงไปให้ถึงชั้นดินที่กำหนดโดยวิศวกร หรืออาจหยุดตอกได้หากจำนวนครั้งที่ตกได้ตามมาตรฐานแล้ว ในบางกรณีก็ไม่สามารถใช้วิธีตอกเสาเข็มได้ เช่น บริเวณรอบ ๆ ข้างของงานก่อสร้างเต็มไปด้วยบ้านเรือน ซึ่งการตอกเสาเข็มอาจเป็นอันตรายต่อบ้านข้างเคียง จึงอาจใช้วิธีอื่น ๆ เช่น การเจาะ
ภาพแสดงการเจาะดินเพื่อทำเสาเข็ม
(Marshall D., et al.)
จากภาพด้านบนเป็นการเจาะดิน มีลำดับขึ้นตอนคร่าว ๆ ดังต่อไปนี้
  • ตั้งแท่นเจาะให้อยู่ในแนวดิ่ง และให้สว่างเจาะตรงกับจุดที่ต้องการเจาะ
  • เจาะ
  • นำสว่างเจาะออก
  • ใส่เหล็กเสริมคอนกรีต แล้วทำการเทคอนกรีต



Reference

Marshall D, Worthing D, Dann N. and Heath R. (2013). The Construction of Houses. (พิมพ์ครั้งที่ 5). New York: Routledge.