แนวข้อสอบ นันทวัน Thai Obayashi

หากเป็นเมื่อก่อน แนวข้อสอบต่าง ๆ หายากเหลือเกิน ใครที่รู้จักคนเยอะ ๆ ก็จะได้เปรียบ ทุกวันนี้ข้อได้เปรียบนั้นเริ่มลดลงเพราะว่าข้อมูลต่าง ๆ สามารถหาได้ในอินเตอร์เน็ต แนวข้อสอบนี้ก็เป็นอีกอย่างที่จะสามารถชี้แนวทางให้หลาย ๆ ท่านได้เดินไปถูกทาง

ข้อสอบของไทยโอบายาชินั้นไม่ยาก (เป็นกากบาท ก. ข. ค. และ ง. ซึ่งหลายท่านคุ้นเคยกันดี) ข้อสอบมีทั้งหมด 20 ข้อ มีเนื้อหาทั้งหมด 4 วิชาหลัก ๆ คือ 
  • Soil & Foundation
  • Reinforced Concrete Design (RC Design)
  • Structural (Theory & Analysis)
  • Steel Design บางมหาลัยฯเรียกวิชานี้ว่า ทิมเบอร์ (Timber & Steel Design) แต่ว่าไม่ได้สอนทิมเบอร์อย่างที่ชื่อเรียก
ตอนผมจะไปสอบ ผมลองหาแนวข้อสอบในเน็ต แล้วได้ข้อมูลว่า ไม่มีเนื้อหา Steel Design ผมจึงมองข้ามไป ทว่า มีในข้อสอบ!

Soil & Foundation
คำบรรยายโจทย์อยู่ใต้ภาพ
เนื้อหาในวิชา Soil เกินคาดผมไปพอสมควร
คำถามของโจทย์คือ ให้หาแรงดันดินที่ระดับความลึก 3 เมตร ในสภาวะ Passive. (แรงดันดินด้านข้างมี 3 สภาวะ คือ Active Passive and At rest. มั้งน่ะ) ในข้อสอบ(Thai Obayashi)จะให้สมการมาครบเลยทีเดียว จะว่าไปก็ไม่ยาก

อีกข้อหนึ่ง ให้ประมาณการรับน้ำหนักของเสาเข็ม แต่เป็นดินแบบ Overconsolidated Ratio (OCR) ข้อนี้ผมจำรายละเอียดไม่ได้


Reinforced Concrete Design (RC Design)
คำบรรยายโจทย์อยู่ใต้ภาพ
ในพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กใช้เหล็กเสริมด้านล่างเป็นเหล็กข้ออ้อยขนาด 12 มม. ทุก ๆ 20 ซม. ถามว่าจะสามารถใช้เหล็กอะไรแทนได้ ตัวเลือกก็จะเป็นประมาณว่า DB16@25, DB20@35...

ให้วิเคราะห์ว่า ที่ระยะ x = 2 m. มีแรงเฉือนหรือโมเมนต์ดัดเกิดขึ้นเท่าไหร่


คำถามคือ เหล็กข้ออ้อยในคานคอนกรีตอยู่ใกล้กันมากสุดได้เท่าไหร่ (ระยะ x ที่น้อยที่สุด)
อันนี้เป็นเหมือนพวก Code ซึ่งตอนนี้ผมก็ยังไม่ได้เปิดตำราดูว่าต้องตอบอะไร


Structural (Theory & Analysis)
คำบรรยายโจทย์อยู่ใต้ภาพ
ชิ้นส่วน AB จะรับแรงได้เท่าไหร่?

ปลายคานด้านซ้ายวางบนบานพับ (Hinge) ตรงกลางคานมีเหล็กยึดคานไว้ ถ้าหน่วยแรงที่ยอมให้ของเหล็กเท่ากับ 1800 กก./ซม.^2 ต้องใช้เหล็กหน้าตัดเท่าใด โจทย์บอกค่า w และ L คำนวนไม่ยาก

รถบรรทุกมีสเปก(spec)ตามรูป กำลังจะข้ามหลุมกว้าง 2 ม. ซึ่งมีคานวางพาดผ่าน หาค่าแรงเฉือนสูงสุด หรือโมเมนต์สูงสุด (ควรฝึกหาแรงทั้ง 2 นี้ให้เป็นก่อนไปสอบ)

รถบรรทุกมีสเปก(spec)ตามรูป กำลังจะข้ามสะพานกว้าง 5 ม. ซึ่งมีคานวางพาดผ่าน หาค่าแรงเฉือนสูงสุดหรือโมเมนต์สูงสุด (ควรฝึกหาแรงทั้ง 2 นี้ให้เป็นก่อนไปสอบ)


Steel Design
คำบรรยายโจทย์อยู่ใต้ภาพ
ข้อสอบง่าย ๆ ก็จะเป็นดังในภาพด้านบน คือถามหาระยะประสิทธิผลของเสา

ภาพด้านบน ผมพยายามวาดเป็นรูปหูช้าง ให้ค่ากำลังรอยเชื่อมที่ยอมให้ อันนี้ผมจำหน้าตาโจทย์ไม่ค่อยได้ รู้สึกว่าไม่ยาก รู้สึกว่าเคยทำได้ (น่าเสียดายที่ตอนนั้นทำไม่ได้)

นอกจากนี้ยังมีข้อสอบที่ให้หากำลังรับแรงอัดที่ยอมให้ของเสาเหล็ก (เป็นเสาธรรมดา ๆ พื้นฐาน) มีสมการให้ครบ ขั้นแรกก็หากำลังรับแรงอัดที่ยอมให้ แล้วก็เอาไปคูณกับพื้นที่หน้าตัด


เกี่ยวกับการเดินทางไปสอบของผู้เขียน
ผมเป็นคนต่างจังหวัดที่ไม่ได้เข้ากรุงเทพบ่อยนัก เท่าที่จำได้ เข้ากรุงเทพล่าสุดก็ตอน ม.4 ตอนไปสอบ รร.เตรียมทหาร เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างก็ไม่มีในเมืองผม ผมได้เข้าใจคำว่า"บ้านนอกเข้ากรุง"มากขึ้น ผมตื่นเต้นกับรางรถไฟฟ้า ผมจะเดินเข้าไปส่องดูรางชัด ๆ ก็มีเจ้าหน้าที่มาเป่านกหวีด แล้วไล่ผมให้ถอยออกห่าง ๆ (ผมไม่ได้เข้าไปใกล้มากจนเป็นอันตรายต่อตัวเอง) ตอนซื้อบัตรรถไฟฟ้า BTS ก็ตื่นเต้นน่าดู ตอนเอาบัตรสอดเข้าเครื่องเพื่อให้ประตูเปิดยิ่งสนุก ต้องเร่งรีบ ทำตัวเฉื่อย ๆ อยู่ที่นี้ไม่ได้ เหตุการณ์ทุก ๆ อย่างรอบตัวเหมือนเร็ว 3 เท่าของชีวิตปกติของผม

เพื่อนผมต่างพากันมาเอง บ้างก็มากับแฟน คงมีแค่ผมที่พ่อแม่มาส่งถึงตึกนันทวันเลย พ่อแม่เองก็เพิ่งขึ้นรถไฟฟ้า BTS เป็นครั้งแรกเหมือนผม เป็นธรรมดาของผู้ที่ไม่ชินกับความเร่งรีบ เลยดูเป็นแบบบ้านนอกเข้ากรุง มันจริงอย่างที่คำพูดนั้นแหล่ะ ตื่นเต้นกับเรื่องธรรมดา ๆ (ที่ไม่ธรรมดาสำหรับบ้านนอก)

อนาคตใครจะรู้ ผมอาจเป็นเด็กบ้านนอกต่อไป หรือได้เข้าไปทำงานที่บริษัทแห่งนี้ แล้วปรับตัว มีฐานะขึ้นมา(กว่าที่เคย) อย่างไรก็ตามผมอาจไม่ได้มีความสุขกับชีวิตที่ต้องวิ่ง ต้องดิ้นรน อย่างที่ว่า อนาคตไม่แน่นอน

Reference

สอบปี 2558 ณ ตึกนันทวัน (Thai Obayashi)