สร้างบ้านใกล้ต้นไม้ใหญ่ | Building Near Trees

ส่วนใหญ่ของดินเหนียวเดิม* เป็นสาเหตุสำคัญที่จะก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับฐานราก มันจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงปริมาตรเนื่องจากการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของความชื้นในดิน ซึ่งความชื้นในดินนี้ก็ขึ้นอยู่กับฤดูกาลต่าง ๆ โดยที่ดินจะขยายตัวมากที่สุดในฤดูหนาวและหดตัวมากที่สุดในฤดูร้อน การเปลี่ยนแปลงนี้โดยปกติจะทำให้ระดับของดินเปลี่ยนแปลงมากถึง 30 มม.

ดินที่เปลี่ยนแปลงปริมาตรส่วนใหญ่จะอยู่ลึกไม่เกิน 1 เมตร เนื่องจากดินที่อยู่ลึกกว่า 1 เมตรนั้นมักจะอิ่มตัวด้วยน้ำ (มีน้ำบาดาน)

หากดินเหนียวเดิมมีต้นไม้ใหญ่เจริญเติบโตอยู่ ปัญหานี้ก็จะยิ่งรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะต้นไม้ใหญ่ที่มีลักษณะเป็นพุ่มขนาดใหญ่ยิ่งต้องการความชื้นในปริมาณมากในการใช้หล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของลำต้นและใบ ยกตัวอย่างเช่น ต้นไม้ Populus ที่โตเต็มที่ มันจะดูดน้ำมากถึง 1,000 ลิตรต่อสัปดาห์ แม้ว่าในฤดูร้อนต้นไม้ยังคงดูดน้ำอย่างต่อเนื่อง รากของต้นไม้จะดึงความชื้นออกจากดิน ทำให้เกิดปัญหาดินหดตัว

ยิ่งกว่านั้น ต้นไม้ใหญ่ที่เป็นกลุ่ม ยิ่งทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวมากยิ่งขึ้น

*เป็นดินเหนียวที่มีอยู่เดิมก่อนที่จะถม

ภาพแสดงการทรุดตัวเมื่อสร้างบ้านใกล้ต้นไม้ใหญ่
(Marshall D., et al.)
เมื่อสร้างบ้านใกล้ ๆ กับต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ จำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าห่างจากต้นไม้มากพอ เนื่องจากรากต้นไม้ขนาดใหญ่มักจะดูดความชื้นในดินเหนียว ทำให้ดินเหนียวหดตัวจนนำไปสู่การทรุดตัวของบ้าน


ภาพแสดงการทรุดตัวเนื่องจากต้นไม้ใหญ่ถูกตัด
(Marshall D., et al.)
ต้นไม้ขนาดใหญ่มักจะดูดความชื้นในดินมาเป็นเวลานาน เมื่อเราทำการตัดต้นไม้ลง ดินจะเพิ่มความชื้นอย่างช้า ๆ เนื่องจากไม่มีต้นไม้คอยดูดความชื้น ความชื้นดังกล่าวอาจมากพอที่จะทำให้ดินขยายตัว การขยายตัวดังกล่าวจะดันบ้านบางส่วนขึ้นจนอาจเกิดความเสียหายแก่ตัวบ้านได้

ปัญหาทั้ง 2 กรณีข้างต้นจะเกิดกับดินเหนียว ไม่เกิดกับดินทราย


ภาพแสดงข้อแนะนำในการปลูกบ้าน
(Marshall D., et al.)
ข้อแนะนำสำหรับต้นไม้ทั่วไป คือ ให้ระยะห่างระหว่างบ้านและต้นไม้เท่ากับความสูงของต้นไม้ และใช้ฐานรากที่ลึก 1.0 เมตร


Reference

Marshall D, Worthing D, Dann N. and Heath R. (2013). The Construction of Houses. (พิมพ์ครั้งที่ 5). New York: Routledge.