การกลับมาของสถาปนิกนักเรียนนอก เบิกทางให้รูปแบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเข้ามายึดพื้นที่อาคารใหม่ ๆ
หลังปี พ.ศ. 2510 ขณะที่ประเทศไทยยังเพิ่งเรียนรู้คำว่า "อุตสาหกรรม" สถาปนิกผู้จบการศึกษาจากต่างประเทศได้เรียนรู้แบบ "สถาปัตยกรรมโมเดิร์น" ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการปฎิวัติรูปแบบสังคมและเศษฐกิจด้วยระบบอุตสาหกรรมในโลกตะวันตก เข้ามาพยายามประยุกต์ใช้กับเทคนิคการก่อสร้างและวัสดุท้องถิ่นที่มีอยู่อย่างจำกัด
อาคารรูปทรงเรขาคณิตและเทคนิคการหล่อคอนกรีตที่กลายเป็นแฟชั่นใหม่แทนการก่ออิฐแบบเดิม ๆ พร้อมกับการจัดวางผังอาคาร โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเพื่อประหยัดการใช้พลังงาน ออกแบบแผงกันแดดให้ตอบรับทิศทางแสง เพื่อนำเสนอทางออกใหม่แทนการใช้ชายคา เปลี่ยนภาพลักษณ์อาคารให้ดูทันสมัยและเทคโนโลยีคอนกรีตเสริมเหล็กทำให้การออกแบบต่าง ๆ เป็นไปได้
สถาปัตยกรรมไทยในยุคนี้สะท้อนให้เห็นความพยายามที่จะทดลองหาความเป็นไปได้ระหว่างความซาบซึ้งในสถาปัตนกรรมโมเดิร์น ตลอดจนรสนิยมและมุมมองความงามที่เปลี่ยนไปของเหล่าสถาปนิกกับสภาพแวดล้อมพื้นที่เขตร้อนของไทย
ตัวอย่างอาคารโมเดิร์น หลังที่ 1
เป็นอาคารสูงที่มี 9 ชั้น ภาพรวมมีลักษณะเป็นทรงกลม
ตัวอย่างอาคารโมเดิร์น หลังที่ 2
เป็นอาคารที่ไม่สูง น่าจะมี 3 ชั้นเท่านั้น รูปทรงสี่เหลี่ยม