ข้อต่องานไม้ | Woodworking joints

เฟอร์นิเจอร์ไม้ เช่น ประตูหน้าต่าง เป็นส่วนหนึ่งของงานไม้ที่เกี่ยวข้องกับการนำชิ้นส่วนของไม้มาต่อรวมกัน เพื่อผลิตสิ่งที่ซับซ้อนมากขึ้น บางข้อต่อก็ใช้วิธียึด ผูก หรือใช้กาวขณะที่วิธีอื่น ๆ นั้นจะใช้วัสดุที่เป็นไม้เท่านั้น ลักษณะของไม้ที่จะเป็นข้อต่อได้ควรจะเหนี่ยวและแข็ง เทคนิคการการทำข้อต่อของไม้มีวิธีการที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ผลิต

สำหรับในบทความนี้จะมีตัวอย่างข้อต่อของงานไม้ดังต่อไปนี้

  1. ข้อต่อไม้แบบ Bridle joint
  2. การต่อชน (Butt joint)
  3. การต่อแบบ Miter joint
  4. การบากเดือยเหลี่ยม (Finger Joint)
  5. เดือยหางเหยี่ยว (Dovetail Joint)
  6. ข้อต่อบากปากชน (Dado Joint)
  7. ข้อต่อแบบบากร่อง (Groove Joint)
  8. ข้อต่อแบบร่องลิ้น (Tongue and groove)
  9. ข้อต่อเดือยเหลี่ยม


1. ข้อต่อไม้แบบ Bridle joint
ข้อต่องานไม้แบบ Bridle joint
ข้อต่อแบบ Bridle joint นี้จะมีลักษณะเหมือนกับแบบ mortise และแบบเดือย (tenon)

corner bridle joint (หรือ slot mortise และ tenon) เป็นการต่อไม้ทั้ง 2 ชิ้นโดยมีจุดต่อที่ปลายของไม้ ข้อต่อแบบนี้จะรับแรงกดได้ดี บางครั้งอาจเสริม Pin เจ้าไปด้สนเพื่อเพิ่มความมั่นคง

Corner bridles มักจะใช้กับไม้ที่มีลักษณะเป็นกรอบ ชิ้นส่วนไม้จะสามารถถอดออกจากกันได้ง่ายโดยไม้ต้องทำลายไม้(หากต้องการถอด)

T-bridle joint เป็นการต่อของไม้ที่เป็นรูปตัว T โดยที่ปลายไม้ชิ้นหนึ่งต่อเข้ากับบริเวณตรงกลางของไม้อีกชิ้นหนึ่ง
ข้อต่องานไม้แบบ T-bridle joint


2. การต่อชน (Butt joint)
ต่อชนเป็นเทคนิคการนำไม้ทั้งสองชิ้นมาต่อก่อน โดยใช้ก้นมาชนกัน เป็นวิธีที่ง่ายและมีต้นทุนน้อยที่สุดเนื่องจากไม่จำเป็นต้องตัดชิ้นงาน และมันยังเป็นข้อต่อที่อ่อนแอที่สุดหากรูปแบบการเสริมแรงไม่เพียงพอ เช่นหากใช้กาวเพียงอย่างเดียว

สำหรับการต่อชนจะมีเทคนิคย่อย ๆ ตามหัวข้อดังนี้
  1. Dowel reinforced butt joint (ใช้เดือย)
  2. Biscuit reinforced butt joint
  3. Screwed butt joint (ใช้สกรู)
  4. Butt joint with pocket hole screws (ใช้สกรู)
  5. ข้อต่อไม้แบบเดือยหางเหยี่ยว (Dovetail Joint)
  6. ข้อต่อแบบบากร่อง (Groove)


ข้อต่อแบบใช้เดือยกลม
2.1 Dowel reinforced butt joint (ใช้เดือย)
การใช้เดือยในการต่อไม้นั้นเป็นวิธีที่ง่ายและเป็นวิธีพื้นฐานในการต่อไม้เพื่อทำเฟอร์นิเจอร์ เช่น เก้าอี้ ตู้ 

เทคนิคนี้ทำได้โดยการตัดไม้ให้เท่ากันแล้วเจาะรู(ควรใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาด) รูเจาะต้องตรงกันอย่างสมบูรณ์ จากนั้นก็นำเดือยมาใส่ ผิวหน้าของไม้ทั้งสองที่สัมผัสกันนั้นจะถูกทาด้วยกาว

การใช้กาวเสริมความแข็งแรงจะดีกว่าการไม่ทากาวเลย แม้ว่ากาวจะเสื่อมสภาพไปแล้ว แต่เดือยไม้จะยังคงอยู่ เมื่อเวลาผ่านไปเดือยไม้จะเริ่มหดตัวเป็นเหตุให้ข้อต่อหลวมได้ ซึ่งเห็นได้ชัดในเก้าอี้เก่า ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดเสียง เอี๊ยด! ข้อต่อแบบนี้ไม่นิยมใช้กับเฟอร์นิเจอร์ที่มีราคาแพง


ข้อต่อแบบ Biscuit reinforced butt joint
2.2 Biscuit reinforced butt joint
เป็นการต่อไม้ที่เป็นนวัตกรรมล่าสุดในการต่อชน Biscuit มีลักษณะเป็นรูปทรงรี ทำมาจากไม้ที่แห้งเป็นพิเศษและถูกบีบอีดอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้เดือยไม่หดตัวและมีความคงทนสูง

วิธีการทำข้อต่อแบบนี้จะเหมือนแบบเดือยกลม เพียงแค่เปลี่ยนจากเดือยกลมเป็นเดือยวงรี

สำหรับการทำร่องใส่เดือย Biscuit ช่างไม้อาจใช้เราเตอร์ในการเจาะ ร่องที่เจาะจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่พอดี

เมื่อเจาะร่องเสร็จแล้วก็นำกาวใส่เข้าไปในร่องแล้วใส่เดือย Biscuit จากนั้นก็ทากาวในผิวหน้าไม้ที่สัมผัสกัน แล้วนำชิ้นไม้ทั้งสองมาต่อกัน เดือยนี้เมื่อถูกกาวมันจะขยายตัวทำให้แน่นขึ้น

สำหรับในประเทศไทยอาจยังไม่ค่อยพบเห็นเดือย Biscuit ได้มากนัก


การต่อชนโดยใช้สกรู
2.3 Screwed butt joint (ใช้สกรู)
การต่อชนแบบนี้จะใช้สกรูมายึด โดยจะเจาะรูในไม้ชิ้นที่ยาวกว่าดังรูปด้านซ้ายมือ โดยทั่วไปสกรูมักจะยาวเป็น 3 เท่าของความหนาของไม้ อาจใช้กาวเสริมในผิวรอยต่อเพื่อให้แน่ใจว่าข้อต่อไม้จะแข็งแรงดี (แม้ว่าไม่จำเป็นก็ตาม)

การต่อแบบนี้มักจะมีตำหนิเนื่องจากมีรอยเจาะกลม ๆ ซึ่งอาจดูขัดหูขัดตาสำหรับบางคร ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ในปริมาณมาก ๆ ก็มักจะมีที่ปิดรูพลาสติกเพื่อปิดรู ทำให้ชิ้นงานดูสวยงามยืางขึ้น



2.4 Butt joint with pocket hole screws (ใช้สกรู)
นี้เป็นรูปแบบของรอยต่อชนที่สกรูจะแทรกเข้าไปในรูเจาะที่อยู่หน้าด้าน(หรือหลัง)ของชิ้นไม้ชิ้นหนึ่งในสอง สกรูที่นำมาใช้มักจะสั้นเพื่อไม่ให้สกรูทะเล วิธีการนี้มักใช้ก็ต่อเมื่อต้องการให้ขอบของชิ้นงานมีความสวยงาม (ไม่มีรอยเจาะ)

การต่อชนโดยใช้สกรู

3. การต่อแบบ Miter joint
การต่อแบบนี้คล้ายกับการต่อชน แต่ชิ้นงานของทั้งสองจะถูกตัดเป็นมุม 45 องศา (การต่อชนจะตัด 90 องศา) ข้อต่อแบบนี้ไม่ค่อยแข็งแรงนัก อาจใช้สำหรับเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่ต้องรับแรง เช่น กรอบรูป
การต่อแบบ Miter joint

4. การบากเดือยเหลี่ยม (Finger Joint)
บากเดือยเหลี่ยม (ในภาษาอังกฤษมีหลากหลายชื่อเรียก เช่น Box Joint, Finger Lap) เป็นการต่อไม้โดยการบากเดือยให้เป็นสี่เหลี่ยม(ผืนผ้า) ต่อกันในมุม 90 องศา เหมือนนิ้วมือที่ประกบกัน มันแข็งแรงกว่าการต่อแบบชน (Butt Joint) และทำให้ชิ้นงานมีความสายงามมากขึ้น

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้คือ เลื่อยมือ สิ่ว ตะไบ เครื่องเลื่อยวงเดือน
การต่อโดยใช้เดือยเหลี่ยม


5. ข้อต่อไม้แบบเดือยหางเหยี่ยว (Dovetail Joint)
การต่อกันแบบนี้นิยมใช้มักที่สุดในเฟอร์นิเจอร์เช่น ประตู หน้าต่าง ตู้หรือแม้แต่อาคารไม้ จุดเด่นของข้อต่อเหล่านี้คือมีความต้านทานแรงดึงสูง

การต่อแบบเดือยหางเหยี่ยวน่าจะถูกใช้ในช่วงก่อนประวัติศาสตร์ ตัวอย่างเฟอร์นิเจอร์ที่เก่าแก่ที่ใช้เดือยหางเหยี่ยวถูกฝังอยุ่กับมัมมี่ (Mummy) ที่สืบมาจากราชวงศ์แรกของอียิปต์โบราณ รวมทั้งสุสานของจักรพรรดิจีน แสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่ของเทคนิคนี้

ในยุโยปเรียกข้อต่อแบบนี้ว่า swallow-tail หรือ fantail joint

เดือยไม้ที่ใช้ทำอาคาร
ข้อต่อแบบนี้มีความแข็งแรงมากเนื่องจากชิ้นงานมีลักษณะเป็นหางและขา ซึ่งยากต่อการดึงให้ออกจากกันและเมื่อทากาวแล้วจะแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะดึงออกจากกัน เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ข้อต่อแบบนี้จะมีความแข็งแรงมากเป็นพิเศษ แต่การบากเดือยนั้นต้องใช้ทักษะที่ชำนาญแล้ว

เดือยที่ทำขึ้นมักมีความลาดเอียง 1:6 ถึง 1:8 โดยเฉลี่ย คือ 1:7


ประเภทของเดือยหางเหยี่ยว

  1. เดือยหางเหยี่ยวธรรมดา (Dovetail Joint)
  2. เดือยหางเหยี่ยวแบบเข้ามุม (Half-blind Dovetail)
  3. เดือยหางเหยี่ยว Secret mitred dovetail joint
  4. เดือยหางเหยี่ยวสไลด์ (Sliding dovetail)





5.1 เดือยหางเหยี่ยวธรรมดา (Dovetail Joint)
เดือยประเภทนี้สามารถสังเกตุเห็นรอยเดือยได้อย่างชัดเจน ในสัมยก่อนนั้น เมื่อทำเดือยเสร็จแล้วจะใช้ไม้ปิดในส่วนที่เป็นเดือยอีกรอบเพื่อความสวยงาม แต่ปัจจุบันการทำเดือยนั้นเป็นการแสดงฝีมือ จึงไม่ได้มีการปกปิดร่องรอยเดือยที่สวยงาม

เครื่องมือที่ใช้ทำคือ เลื่อยมือ สิ่วและเครื่องเลาเตอร์

เดือยหางเหยี่ยมแบบธรรมดา
เดือยหางเหยี่ยมแบบธรรมดา

5.2 เดือยหางเหยี่ยวแบบเข้ามุม (Half-blind Dovetail)
การเข้ามุมแบบนี้จะทำให้การมองมาจากมุมหนึ่งไม่เห็นรอยต่อ เช่นภาพด้านล่างนี้ เมื่อมองมาจากทางด้านซ้ายมือจะไม่เห็นร่องรอยของการต่อ รอต่อแบบนี้มักใช้กับชิ้นชักต่าง ๆ ซึ่งนิยมปกปิดรอยต่อไว้
เดือยหางเหยี่ยมแบบเข้ามุม

5.3 เดือยหางเหยี่ยว Secret mitred dovetail joint
การต่อแบบนี้จะมีความแข็งแรงมาก แต่มีวิธีการทำที่ซับซ้อนกว่าแบบอื่น ๆ
เดือยหางเหยี่ยวแบบ Secret mitred

5.4 เดือยหางเหยี่ยวสไลด์ (Sliding dovetail)

เดือยหางเหยี่ยมสไลด์
ชิ้นไม้ที่ตั้งอยู่ในแนวดิ่ง (ในภาพ) จะเรียกว่า เดือยหางเหยี่ยวตัวผู้ และชิ้นที่วางในแนวราบ (ในภาพด้านบน) เรียกว่า เดือยหางเหยี่ยวตัวเมีย

เครื่องมือที่ใช้ทำคือ เลื่อยมือ สิ่วและเครื่องเลาเตอร์


6. ข้อต่อบากปากชน (Dado Joint)
เป็นช่องหรือร่องที่ตัดเข้าไปในเนื้อไม้ ข้อต่อแบบนี้ใช้กับงานธรรมดา เช่น ชั้นวางหนังสือ ชั้นวางของ เป็นต้น เมื่อทางสีแล้วจะปกปิดรอยต่อได้ดีมาก

ภาพข้อต่อบากปากชน

ภาพข้อต่อบากปากชน


7. ข้อต่อแบบบากร่อง (Groove Joint)
ในงานไม้เช่นการทำประตูหรือหน้าต่างมักจะใช้เทคนิคการต่อแบบบากร่อง ซึ่งจะบากเป็นแนวขนานกับขอบ


8. ข้อต่อแบบร่องลิ้น (Tongue and groove)
ข้อต่อแบบนี้ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในพื้นหรือผนังห้อง เนื่องจากเกิดผลกระทบของการหดตัวน้อย

ร่องลิ้นเป็นการเรียงวัสดุที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น แผ่นพื้นปาเก้ ในสมัยก่อนนั้นร่องเช่นนี้จะใช้ในการสร้างแบบหล่ออีกด้วย

ข้อต่อแบบร่องลิ้น

9. ข้อต่อเดือยเหลี่ยม (Mortise and tenon)
ข้อต่อแบบนี้ถูกใช้มาพัน ๆ ปีโดยคนงานไม้ โดยการต่อไม้เข้าด้วยกัน มันเป็นรูปแบบที่ง่ายและมีความแข็งแรงใช้ได้ ดังในภาพเป็นไม้สองชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นร่องใส่เดือยและอีกชิ้นเป็นเดือยเหลี่ยม เดือยนี้จะถูกทำให้ใส่ร่องได้พอดี อาจมีการติดกาวเสริมความแข็วงแรง ในสมัยก่อนจะใช้ลิ่มเพื่อเพิ่มความแข็งแรง

โดยทั่วไปขนาดของร่องและเดือยนั้นจะขึ้นอยู่กับความหนาของไม้
ข้อต่อเดือยเหลี่ยม




บรรณานุกรม

1. Wikipedia. (2557). Woodworking joints. ค้นข้อมูล วันที่ 12  มกราคม 2558. จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Woodworking_joints
2. Wikipedia. (2557). Butt joint. ค้นข้อมูล วันที่ 12  มกราคม 2558. จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Butt_joint