ลักษณะและสาเหตุของรอยร้าวในโครงสร้าง

ชนิดของรอยร้าวรอยร้าวที่เกิดขึ้นกับบ้านพักอาศัยหรืออาคารคอนกรีต สามารถจำแนกตามสาเหตุเป็น 3 ชนิด คือ รอยร้าวที่เกิดจากวัสดุเสื่อมคุณภาพ รอยร้าวที่เกิดจากโครงสร้างรับน้ำหนักเกิน และรอยร้าวที่เกิดจากการทรุดตัว

1. รอยร้าวที่เกิดจากวัสดุเสื่อมคุณภาพ รอยร้าวชนิดนี้เกิดจากความเสื่อมสภาพของวัสดุที่ใช้งานมานาน เกิดจากสิ่งแวดล้อม อุณหภูมิ หรือสารเคมี เป็นต้น

ลักษณะของรอยร้าว
ลักษณะและตำแหน่งของรอยร้าวที่พบบ่อย มี 2 ลักษณะ คือ

1.1 แตกร้าวที่ผิวของคอนกรีต เกิดจากคอนกรีตเสื่อมสภาพ ทำให้คอนกรีตเกิดการยืด-หดตัว หรืออีกกรณีคือ ถูกกัดเซาะจากสารเคมี  การแตกร้าวมีลักษณะเป็นหย่อมๆ หรืออาจขึ้นบริเวณกว้าง มีลักษณะเป็นลายงา หรืออื่นๆ(รูปไม่แน่นอน) เมื่อกระเทาะคอนกรีตบริเวรนั้นออก จะพบว่ารอยแตกร้าวไปไม่ถึงแกนกลางคอนกรีต  แต่ถ้าการแตกร้าวเกิดจากการกัดเซาะขอ

1.2แตกร้าวไปถึงเล็กเสริม ส่วนใหญ่เกิดจากเหล็กเสริมเป็นสนิม สนิมของเหล็กเกิดจาก...
*คอนกรีตที่หุ้มเหล็กเสริมมีความหนาน้อยเกินไป
*อยู่ในที่ๆมีคลอไรด์สูง (เช่น เสาตอม่อที่อยู่ใต้ดิน และดินบริเวรนั้นอาจเป็นดินเข็ม ซึ่งมีเกลือคลอไรด์ผสมอยู่)
*อยู่ในสภาวะสภาพที่ชุ่มน้ำ หรือสัมผัสความชื้น เช่นคานคอดิน

เมื่อเหล็กรวมตัวกับไอน้ำ เหล็กจะกลายเป็นสนิมและบวมตัว จนกระทั้งดันคอนกรีตแตกออก ลักษณะการแตกร้าวนี้ จะเป็นแนวยาวขนานไปกับทิศทางการวางเหล็ก

2  รอยร้าวที่เกิดจากโครงสร้างรับน้ำหนักเกิน
รอยร้าวประเภทนี้เกิดจากโครงสร้างมีขนาดเล็กเกินไป หรือใช้งานผิดประเภท ทำให้โครงสร้างรับน้ำหนักมากกว่าที่ออกแบบไว้  โครงสร้างจึงเกิดการแอ่นตัว และจะมากขึ้นเรื่อยๆหากไม่ได้รับการแก้ไข

คาน
หากคานมีขนาดเล็กเกินไป หรือรับน้ำหนักมากเกินไป คานจะเกิดรอยร้าว รอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นมีลักษณะดังนี้
*ช่วงกลางคาน รอยแตกลายจะเกิดขึ้นที่ใต้ท้องคาน บริเวณช่วงกึ่งกลางความยาว มีลักษณะเหมือนรูปตัววี และต่อเนื่องขึ้นในแนวดิ่งของคาน เมื่อคานแอ่นตัวมากขึ้นเรื่อยๆ รอยร้าวจะเพิ่มมากขึ้น เป็นหลายแนว ขนานกับรอยร้าวแรก

*ช่วงปลายคาน รอยแตกร้าวที่ปลายคานจะเริ่มขึ้นที่ด้านบน และร้าวลงด้านล่าง อาจร้าวเป็นแนวดิ่งหรือแนวเฉียง โดยทั่วไป รอยแตกร้าวที่ปลายคานจะเกิดขึ้นภายหลังจากเกิดรอยร้าวที่กลางคาน ดังนั้น หากพบรอยร้าวที่กลางคาน ควรรีบดำเนินการแก้ไขก่อนรอบร้าวจะลาม

พื้น
สำหรับพื้นที่รับน้ำหนักเกิน จะเกิดการแอ่นตัวจนมีรอยแตกร้าวตามตำแหน่งต่างๆ คือ
*ท้องพื้น
**หากเป็นคอนกรีตหล่อในเสริมเหล็กสองทาง จะเกิดรอยแตกที่ท้องพื้นที่ส่วนกลาง รอยแตกลายจะมีลักษณะเฉียงจากกึ่งกลางของพื้น เข้าหาเสาทั้งสี่มุม
**หากเป็นพื้นที่เสริมเหล็กทางเดียว จะเกิดรอยแตกร้าวที่ท้องพื้นเป็นเส้นตั้งฉากกับแนวเสริมเหล็ก

เสา
เสา เมื่อได้รับน้ำหนักบรรทุกไม่ไหวจะเกิดการโก่งเดาะ คอนกรีตช่วงกลางเสาจะแตกออก เหล็กเสริมจะงอ

ลักษณะการแตกร้าวของเสา จะเป็นข้อมูลในการช่วยวิเคราะห์สาเหตุ

*สาวที่แตกเป็นปล้องๆ ในแนวนอน และเกิดเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หรือคอนกรีตแตกออกจนเห็นเหล็กเสริม  เกิดจากโครงสร้างส่วนอื่นดึงเสาต้นนี้ เพราะเรานั้นมีความสูงมากเกินไป

*คอนกรีตบริเวณแกนกลางแตกออก เหล็กเสริมทุกเส้นหักงอ แสดงว่าคอนกรีตในช่วงนั้นไม่สามารถรับน้ำหนักได้

ผนัง
หากโครงสร้างรับน้ำหนักไม่ได้ จะทำให้ผนังที่อยู่ติดกับโครงสร้างแตก เช่น คานรับน้ำหนักเกินจนแอ่นตัว จึงกดทับผนังทำให้ผนังแตกร้าว