การศึกษาเกี่ยวกับวัสดุจีโอโพลิเมอร์คอนกรีต | Geopolymer Concrete

       P.Chindaprasirt and W.Chalee (2014) ได้ทำการศึกษาผลกระทบของความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่มีผลต่อการนกัดกร่อนของคลอไรด์และการผุกร่อนของเหล็กเสริมในจีโอโพลิเมอร์คอนกรีต ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีคลอไรด์สูง(ทะเล) โดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ที่มีความเข้มข้น  8,10,12,14,16 และ18 โมลาร์ กำหนดให้อัตราส่วนระหว่าง ซิลิกา(SiO2) ต่ออลูมินา(Al2O3) มีค่าคงที่ ใช้ตัวอย่างจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตที่มีขนาด  200x200x200 มิลลิเมตร โดยมีระยะหุ้มเหล็กเสริม 20, 50 และ75 มิลลิเมตร ทำการบ่ม จีโอโพลิเมอร์คอนกรีตที่อุณหภูมิห้องเป็นเวา 28 วัน จากนั้นนำจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตไปแช่ในน้ำทะเลเป็นเวลา 3 ปี จึงนำมาทดสอบกำลังรับแรงอัด การกัดกร่อนของคลอไรด์และการผุกร่อนของเหล็กเสริมในตัวอย่างจีโอโพลิเมอร์คอนกรีต ผลการทดสอบพบว่า การกัดกร่อนของคลอไรด์และการผุกร่อนของเหล็กเสริมในตัวอย่าง จีโอโพลิเมอร์คอนกรีตมีค่าลดลงเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ การผุกร่อนของเหล็กเสริมมีความสัมพันธ์กับค่ากำลังรับแรงอัดของ จีโอโพลิเมอร์คอนกรีต โดยการผุกร่อนจะเกิดขึ้นสูงเมื่อจีโอโพลิเมอร์มีกำลังรับแรงอัดต่ำ นอกจากนั้นความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ในจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตยังทำให้การสะสมของคลอไรด์ลดน้อยลง

       Md.Sufian (2014) ทำการศึกษาการเหนี่ยวนำการเกิดการผุกร่อนของเหล็กเสริมในจีโอโพลิเมอร์คอนกรีต โดยปฏิกิริยาคาร์บอเนชั่น โดยเปรียบเทียบโดยการใช้เถ้าลอยที่มีค่า แคลเซียม(Ca) ต่างกันเพื่อศึกษาการเร่งปฏิกิริยาการเกิดคาร์บอเนชั่นในช่วงเวลา 450 วัน เปลี่ยนการเหนี่ยวนำในคอนกรีตโดยการเปิดระบบคาร์บอนไดออกไซด์ 5% และวัดค่าทางเคมีด้วยเครื่องมือตลอดเวลา การทดสอบการเกิดปฏิกิริยาคาร์บอเนชั่นในกระบวนการการกัดก่อนในเหล็กเสริม การศึกษาการเหนี่ยวนำของจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตเปรียบเทียบกับเถ้าลอยที่มีการลดปริมาณแคลเซียม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้งานที่ยืดหยุ่นขึ้น สำหรับการใช้งานในสภาวะเสี่ยงต่อการเกิดคาร์บอเนชั่นสูงและคุณสมบัตินี้มีแนวโน้มจะบรรเทาความเสี่ยงที่จะเกิดการเหนี่ยวนำให้เกิดการกัดกร่อนในคอนกรีตเสริมเหล็ก

       ถนัดกิจและคณะ (2548) ได้ศึกษาผลกระทบของความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์และผลของความละเอียดของเถ้าลอยแม่เมาะที่มีต่อกำลังรับแรงอัดของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์ สังเคราะห์สารจีโอโพลิเมอร์โดยใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่มีความเข้มข้น 10, 15, 20 โมลาร์สารละลายโซเดียมซิลิเกตที่มีองค์ประกอบของ Na2O, SiO3 และ H2O ร้อยละ 15.32, 32.87, 51.81 ตามลำดับ ใช้ทรายแม่น้ำที่อยู่ในสภาวะอิ่มตัวผิวแห้งและมีโมดูลัสความละเอียดเท่ากับ 2.8 ใช้แท่งทดสอบรูปทรงลูกบาศก์ขนาด 50 มิลลิเมตร อัตราส่วนของทรายต่อเถ้าลอย เท่ากับ 2.75 และมีความสามารถในการไหล (Flow) อยู่ในช่วง 110+_5% จากการทดสอบพบว่า ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์และความละเอียดของเถ้าลอยมีผลต่อกำลังรับแรงอัดของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์ โดยที่ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์และความละเอียดเถ้าลอยที่สูงขึ้นจะทำให้กำลังอัดสูงขึ้น

       Chindaprasirt  และคณะ (2007) ศึกษาเกี่ยวกับจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์ โดยใช้จีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์จากเถ้าลอยซึ่งได้จากถ่านหินลิกไนท์ กำลังรับแรงอัดมีค่าระหว่าง 10-65 MPa โดยขึ้นอยุ่กับปริมาณอัตราส่วนของสารละลายโซเดียมซิลิเกตต่อสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ อัตราส่วนของสารละลายโซเดียมซิลิเกตต่อสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ให้ค่ากำลังอัดที่สูงจะอยู่ในช่วง 0.67-1.00 ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ใช้ทดสอบจะอยุ่ในช่วง 10-20 โมลาร์ ซึ่งมีผลเพียงเล็กน้อยต่อกำลังของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์ กำลังอัดที่ให้ผลดีที่สุดจะต้องบ่มหลังจากผสมเสร็จแล้วประมาณ 1 ชั่วโมงและอุณหภูมิที่ใช้บ่มต่ำสุดที่ 75 องศาเซลเซียส โดยที่ระยะเวลาในการบ่มต้องไม่น้อยกว่า 2 วัน

       Somna et al.  (2011) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับจีโอโพลิเมอร์ โดยเปรียบเทียบกำลังรับเเรงอัดระหว่างเถ้าลอยที่บดละเอียดกับเถ้าลอยที่ไม่ได้บด ใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดปฏิกิริยา ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 4.45-16.5 โมลาร์ ทำการบ่มที่อุณหภูมิห้อง แล้วทำการทดสอบกำลังรับแรงอัดและศึกษาจุลภาคขนาดเล็ก(Microstructure Observation) จากผลการศึกษาพบว่า ค่ากำลังรับแรงอัดของจีโอโพลิเมอร์จากเถ้าลอยที่บอละเอียดให้ค่าสูงกว่าเถ้าลอยที่ไม่ได้บด และผลของความเข้มข้นโซเดียมไฮดรอกไซด์จาก 9.5-16 โมลาร์ ทำให้ค่ากำลังอัดลดลงและผลของการศึกษาจุลภาค พบว่าที่ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ตั้งแต่ 12-14 โมลาร์ เมื่อทำปฏิกิริยาจะทำให้เกิดการตกผลึกของโซเดียมอะลูมิโนซิลิเกต จึงทำให้ค่ากำลังรับแรงอัดลดลง

เอกสารอ้างอิง

[1]      Chindaprasirt P., T. Chreerat, and V. Sirivivatnanon, 2007, Workability and Strength of Coarse High Calcium Fly Ash Geopolymer, Cement & Concrete Composites 29 (2007) 224-229
[2]       Md. Sufian. 2014. Corrosion of steel bars induced by accelerated carbonation in low and high calcium fly ash Geopolymer concretes. Construction and Building Materials. 2014(61): 79-89.
[3]       Nath, P. and P. K. Sarker. 2012. “Geopolymer concrete for ambient curing condition.” In The Australasian Structural Engineering Conference 2012 (ASEC 2012), Jul 11, 2012, Perth, Western Australia: Engineers Australia.
[4]       P. Chindaprasirt and W. Chalee. Effect of sodium hydroxide concentration on chloride penetration and steel corrosion of fly ash-based Geopolymer concrete under marine site.  Construction and Building Materials. 2014(63): 303–310
[5]       Somna, K., Jaturapitakkulb, C., Kajitvichyanukulc, P., Chindaprasirte, P. 2011. NaOH-activated ground fly ash Geopolymer cured at ambient temperature. Fuel. 90(6). 2118–2124.