คานคอดิน คือ | การทำงานของคาน

รูปด้านบน เปรียบเทียบการทำงานระหว่างคานคอดิน กับคานทั่วไป ซึ่งมีวิธีการออกแบบที่ต่างกัน

รูปด้านบน เป็นคานคอดิน ซึ่งจะวางไว่บนดินแข็งๆ ดินที่จะวางนั้น ต้องบดอัดเป้นอย่างดี
การรับน้ำหนักของคาน จะค่อนข้างกระจาย คาดเดาที่ๆจะพังไม่ค่อยได้
เนื่องจากคานคอดิน ไม่ชัดเจนเรื่องตำแหน่งที่จะพัง อาจพังที่ด้านบนของคาน หรือด้านล่างก็ไม่แน่
การใส่เหล็ก จึงมักใส่ให้พอๆกัน อาจจะแค่ด้านบน 2 เส้น และ ด้านล่าง 2 เส้น พอ

รูปด้านบน เป็นคานทั่วไป ซึ่งไม่มีดินมารองด้านล่าง คานแบบนี้จะพังตรงช่วงกลางๆคานพอดี
ตำแหน่งที่พังก็จะเป็นผิวล่างของคาน
จุดที่จะพังคาดเดาได้ง่าย
เพราะว่า รู้ ว่าคานจะพังตำแหน่งไหน(ด้านล่าง) จึงใส่เหล็กมากกว่า

คานที่ใส่เหล็กมากๆดีไหม? หลายท่านคงมีความคิดว่า ดีแน่นอน แต่นั้น ผิด! ครับ
ตามกฏหมาย จะให้ใส่เหล็กได้แค่นิดเดียว เพราะมันเป็นอันตรายต่อโครงสร้าง...ยังไง?

ใส่เหล็กน้อยๆ ให้เหล็กพังก่อน >>> เหล็กมันยืดได้เยอะครับ ถ้าโครงสร้างที่รับแรงไม่ไหว เหล็กจะพัง ซึ่งการพัง มันก็จะงอๆๆๆ กว่าจะเหล็กจะขาดก็นานมากครับ เหล็กยาว 1 เมตร มันสามารถยึดได้มากถึง 17 เซนติเมตรเลย

ใส่เหล็กมากๆ คอนกรีตจะพังก่อน >>> หนีไม่ทันครับ พังทันที คอนกรีตยาว 1 เมตร อาจจะยืดออกได้เพียง 2-3 เซนติเมตร เท่านั้น